Nitchan Pitayathorn, Saxophonist นักแซกโซโฟน ยอดเยี่ยม รุ่นใหม่ แห่งวงการ แซกโซโฟนไทย
Born and raised in Thailand, Nitchan began studying saxophone at the age of eight with Mr. Promwut Sudtakoo at "Music Campus for General Public"(MCGP) Seacon Square, Bangkok Thailand.
In 2014, Nitchan went to the Pre-college Program of the College of Music at Mahidol University to pursue his deep desire on classical saxophone with Mr. Wisuwat Pruksavanich and Prof. Shyen Lee. In the same year, Nitchan also got a merit scholarship from the college.
Nitchan had traveled to attend and perform at various national & international musical events, and camps such as the “17th World Saxophone Congress” in Strasbourg France,“Singapore Saxophone Symposium” 2015 - 2018 at the Art Institute of Singapore, Nanyang Academy of Fine Arts, the "7th Thailand International Soloist Saxophone Summer Camp 2016 "Elite Project", " the "Hong Kong International Saxophone Symposium 2016", the "Asia Pacific Saxophone Academy 2016", "2016 Asian Saxophone Congress", the “5th Jean-Marie Londeix International Saxophone Competition”, the 13th,14th Thailand International Composition Festival (TICF)”,18th World Saxophone Congress” in Zagreb, Croatia, and had his debut performance at the Carnegie Hall.
Nitchan has taken masterclasses and coachings with numerous distinguished world-class saxophonists such as Jean-Marie Londiex, Dr. William Street, Dr. ChenKwan Lin , Claude Delange, Dr. Kenneth Tse, JeanMichel Goury, Philippe Geiss, Alain Crepin, Dr. Stephen Page, Lars Mlekusch, Kyle Horch, Rodrigo Vila Pieter Pellens, Asagi Ito, Dr. Phil Pierick, Joshua Hyde, Gaetan Bigarre, Vince Gnojek, Andy Scott, Russell Peterson, ensemble coaching by Masahiro Maeda, and he also attended several lectures by Dr. David Nabb.
Nitchan was awarded by many national and international competitions such as the winner of the "18th SET Youth Musician Competition” (High school category), finalist of the " 17th Osaka International Music Competition " ( Section I, age H ), Semi-finalist of the "2016 Asian Saxophone Competition", the winner of the " 2017 YAMP Concerto Competition", & was selected and given the "Yamaha Music Foundation Scholarship 2017", the 3rd prize winner of the 1st Asia Pacific Saxophone Academy (APSA) Competition, the finalist of the “18th Osaka International Music Competition”(Section I, age U), First Place and Judges' Distinction Award (Plaque Trophy) Winner of the American Protégé International Woodwinds and Brass Competition 2017, the first gold prize of the 21st SET Youth Musician Competition, the honorable mention prize from the Chiangmai Ginastera International Music Competition, and the first gold prize of the 22nd SET Youth Musician Competition.
Through out his successful years, Nitchan had worked and premiered several new works by esteemed national and international composers including Attakorn Sookjaeng, Viskamol Chaiwanichsiri, Thanakarn Schofield, and Patiparn Jaikampan, Jean - Patrick Besingrand, Jason Thorpe Buchanan etc.
As a soloist, Nitchan had his solo debut with the Mahidol Symphonic Band at the age of 16, then with the Mahidol Symphonic Band, the YAMP Symphonic Band, the Mahidol Saxophone Ensemble, and the Thailand Philharmonic Orchestra (season XII) following respectively.
Being one of the founding members of many emerging groups of ensembles, he had joined and competed in several ensemble competitions such as one of the finalists with the position of " Scholarship for the Best Performance (Group) in Section II " from both the 17th, and the 18th Osaka International Music Competition, the honorable mention prize from the Chiangmai Ginastera International Music Competition, winner of the Valaya Alongkorn Music Competition 2020, the 3rd prize winner of the Princess Galyani Vadhana International Music Festival 2020, semi-finalist of the Thailand International Wind Symphony Competition 2020 (no finalists), the 3rd prize winner of the Princess Galyani Vadhana International Ensemble Competition 2021, finalist of the Princess Galyani Vadhana International Music Festival 2021 (no ensembles awarded), and the finalist of the Goodmesh Concours 2021.
Nitchan was the of principal saxophone of the Mahidol Symphonic Band, and the YAMP Symphonic Band from 2015-201 and a Music Talent scholarship student at the College of Music, Mahidol University
Currently, he is a music instructor at the International Pioneers School, a member of Yamaha and Vandoren artist’s Gusto Saxophone Quartet.
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
นิชฌาน พิทยาธร นักแซกโซโฟนหน้าใหม่
เริ่มครึ่งหลังของฤดูกาลที่ 12 วงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทย (Thailand Philharmonic Orchestra, TPO) เมื่อวันที่ 5-6 พฤษภาคม 2560 แสดงที่อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โดยวงทีพีโอมีนักดนตรีหน้าใหม่ที่ยอมเซ็นสัญญา 17 คน ผ่านการคัดเลือกเข้ามาแทนคนเก่า ซึ่งการคัดเลือกนักดนตรีครั้งนี้ เป็นการเปลี่ยนผ่านและเป็นพัฒนาการที่สำคัญยิ่งของวงออเคสตราของไทย
นักดนตรีใหม่ได้นั่งตำแหน่งใหม่ โดยเฉพาะนักดนตรีในตำแหน่งหัวแถวซึ่งได้เปลี่ยนเกือบหมด สมาชิกเก่าจำนวนหนึ่งหลุดหายไป มีคนใหม่เข้ามาแทน แถมยังเข้ามาแทนในตำแหน่งหลักเสียด้วย ทำให้เกิดอาการรู้สึกหวาดเสียวมากขึ้น เพราะสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปนี้เป็นคำตอบว่า การจัดการคิดถูกหรือไม่
การคัดเลือกนักดนตรีทั้งวงนั้น ถูกต้องที่สุดหรือผิดพลาดอย่างมหันต์กันแน่
เมื่อมีนักดนตรีหน้าใหม่เข้ามาอยู่ในวงทีพีโอ แถมนักดนตรีหน้าใหม่ก็เข้ามานั่งในตำแหน่งที่ต้องนำเสียงของวงอีก จึงทำให้ต้องลุ้นกันสุดตัว ลุ้นว่าถูก ลุ้นว่าผิด ลุ้นว่าจะรอดหรือไม่รอด วงจะออกมาอย่างไร พาวงไปตลอดรอดหรือไม่ เล่นล่มหรือเปล่า นักดนตรีในวงด้วยกันจะยอมรับได้ไหม ผู้ฟังยอมรับได้หรือเปล่า เสียงจะออกมาดีหรือแย่กว่าวงเดิม เป็นต้น ซึ่งเป็นคำถามที่มีอยู่ในใจตลอดเวลา ต้องลุ้นเพราะเป็นคำตอบว่า ในการตัดสินใจคัดเลือกนักดนตรี (ผิดหรือถูก) วิธีการคัดเลือกนักดนตรี การจัดวงดนตรี เสียงที่ออกมาก็จะฟ้องว่าผิดพลาด ล้มเหลว หรือประสบความสำเร็จ ล้วนขึ้นอยู่กับการแสดงในครั้งแรกนี้ทั้งสิ้น
ประกอบกับรายการแสดงครั้งนี้ มีนักแซกโซโฟนหน้าใหม่ซึ่งเป็นผู้เดี่ยวเพลงใหม่กับวงทีพีโอด้วย คือ นิชฌาน พิทยาธร นักเรียนซึ่งเพิ่งจะเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโครงการเตรียมอุดมดนตรีของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เมื่อรวมๆ กันแล้ว ก็เป็นความเสี่ยงที่ท้าทายยิ่ง ลุ้นทุกขั้นตอน ลุ้นทุกตำแหน่ง ลุ้นทั้งรายการก็ว่าได้ ซึ่งเป็นการลุ้นของทุกๆ คน ตั้งแต่นักดนตรี เพื่อนๆ นักดนตรี ผู้จัดการวงดนตรี ผู้อำนวยการวงดนตรี ผู้ฟัง และผู้ที่ติดตามความเปลี่ยนแปลงของวงทีพีโอ ลุ้นโดยไม่กะพริบตา
วันแรกที่ซ้อม (1 พฤษภาคม 2560) ที่อาคารมหิดลสิทธาคาร (17.00-21.30 น.) เมื่อผ่านไปได้ 15 นาที ก็รู้สึกว่าโล่งอกโล่งใจทันทีไปเปลาะหนึ่ง เพราะเสียงที่ได้ยินใหม่จากวงทีพีโอ เป็นเสียงที่อิ่มอุ่น โดยพื้นฐานแล้ว เสียงของวงทีพีโอดีขึ้นมากกว่าเดิมเป็นกองๆ ทีเดียว แอบอมยิ้มอยู่ในใจ เสียงเครื่องสายนั้นเต็มเสียง ก็เริ่มหายใจโล่งอกในยกแรก เมื่อนักดนตรีหัวโต๊ะเครื่องสายไม่น่าเป็นห่วงแล้ว ก็เหลือนักดนตรีหัวโต๊ะพวกเครื่องเป่า ทรอมโบน ทรัมเป็ต โอโบ ทิมปานี จะไปไหวไหม โดยเฉพาะจากคำวิจารณ์ของนักดนตรีด้วยกัน ครั้นเมื่อผ่านไป 1 วัน ก็ตอบได้ว่า วงทีพีโอวงใหม่ สอบผ่านทั้งวง เหลือแต่ว่าวันแสดงจะได้รับเสียงปรบมือจากผู้ชมมากน้อยเพียงใด เสียงปรบมือจะหนาแน่นเหมือนเดิมหรือเปล่า
โดยปกติแล้ว นักเดี่ยว (Soloist) จะเข้าฝึกซ้อมกับวงในวันที่ 3 ของการซ้อม เพราะส่วนใหญ่นักเดี่ยวที่ร่วมแสดงกับวงทีพีโอก็จะผ่านการแสดงในเวทีอื่นๆ มาก่อนพอสมควรแล้ว เพียงแต่ต้องซ้อมเพื่อปรับการเล่นให้เข้ากับวงและผู้ควบคุมวงดนตรี ก็น่าจะไม่มีปัญหาใดๆ แต่ในครั้งนี้ มีนักเดี่ยวแซกโซโฟนหน้าใหม่วัยยังละอ่อน “นิชฌาน พิทยาธร” ขึ้นเวทีเล่นกับวงออเคสตราครั้งแรกในชีวิต ก็ถือเป็นความเสี่ยงที่สาหัสอีกเรื่องหนึ่ง
ในที่สุดก็ขอให้ผู้ควบคุมวงดนตรี (Conductor) เริ่มซ้อมกับนักเดี่ยวหน้าใหม่ตั้งแต่วันที่ 2 ให้เร็วขึ้นอีกวันหนึ่ง เผื่อว่า “ขาดเหลือ” จะได้ช่วยเหลือได้ทัน ซึ่งก็ปรากฏว่าเป็นจริงอย่างนั้น เพราะบทเพลงใหม่ (Four Pictures from New York) ดุริยกวีจากอิตาลี (Roberto Molinelli) นักประพันธ์เพลงหน้าใหม่ อายุ 54 ปี ประพันธ์เพลงสำหรับแซกโซโฟนและออเคสตราขึ้น 4 ท่อน เพื่อบรรยายบรรยากาศของนิวยอร์ก (1) ยามรุ่งอรุณ (2) ในบาร์แทงโก (3) นิวยอร์กยามค่ำคืน และท่อนสุดท้าย (4) เป็นเสียงดนตรีบรรยากาศของ
บรอดเวย์ (Broadway Night) ซึ่งเพลงยังเป็นเพลงใหม่สำหรับผู้ฟัง แซกโซโฟนก็เป็นเครื่องดนตรีที่มีโอกาสน้อยที่จะเล่นกับวงออเคสตรา หาวงเล่นก็ยาก เพราะแซกโซโฟนไม่ใช่เครื่องดนตรีในวงออเคสตรา
แถมเป็นเครื่องดนตรีสมัยใหม่ มีนักประพันธ์เพลงแต่งให้เล่นน้อย
สําหรับวงทีพีโอนั้น ได้เปิดโอกาสให้แซกโซโฟนบ่อยพอสมควร ผ่านการจัดงานประกวดแซกโซโฟนของลอนเด็กซ์ (Jean-Marie Londeix) ระดับนานาชาติ ทุกๆ 3 ปี ซึ่งวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นเจ้าภาพจัดการประกวดแซกโซโฟนนานาชาตินี้มา 4 ครั้งแล้ว โดยในรอบสุดท้ายจะต้องมีเพลงที่แต่งขึ้นใหม่
สำหรับแซกโซโฟนและออเคสตรา ที่สำคัญก็คือ รอบสุดท้ายก็ต้องเล่นกับวงออเคสตรา ทำให้เกิดเพลงใหม่ๆ สำหรับแซกโซโฟนมากขึ้น ทำให้นักแซกโซโฟนคุ้นเคยกับการเล่นกับวงออเคสตรามากขึ้นด้วย ส่วนผู้ชนะเลิศก็จะได้แสดงกับวงทีพีโอ ซึ่งเป็นการผูกติดกันไว้ระหว่างเพลงใหม่ นักแซกโซโฟน และวงออเคสตรา
ในปีนี้ วันที่ 21-22 กรกฎาคม 2560 ก็จะมีการประกวดแซกโซโฟนนานาชาติอีกเป็นครั้งที่ 5 ซึ่งรอบสุดท้ายก็จะมีนักแซกโซโฟน 5 คน ที่จะต้องแข่งเดี่ยว โดยได้เล่นร่วมกับทีพีโอด้วย เป็นเรื่องน่าตื่นเต้น เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เป็นประวัติศาสตร์ของวงการดนตรีโลกทีเดียว และเป็นเรื่องที่น่าดูยิ่ง
นิชฌาน พิทยาธร (เปา) เป็นนักแซกโซโฟนหน้าใหม่ (อายุ 18 ปี) และเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เริ่มเรียนแซกโซโฟนกับอาจารย์พร้อมวุฒิ สุดตะกู ซึ่งสอนแซกโซโฟนอยู่ที่โครงการสอนดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไป ศูนย์การค้าซีคอนสแควร์ ถนนศรีนครินทร์ ถือเป็นหุ้นส่วนของโครงการวิจัยพรสวรรค์ศึกษาที่ได้เริ่มโครงการสอนดนตรีเด็กในศูนย์การค้าเมื่อ พ.ศ.2538 เป็นต้นมา
นิชฌาน พิทยาธร ได้ผ่านเวทีประกวดในระดับชาติมาหลายเวที มีโอกาสได้ออกไปแสดงในเวทีนานาชาติก็หลายครั้ง ผ่านการเรียนกับนักแซกโซโฟนระดับนานาชาติก็หลายคน ประมาณว่า นิชฌาน เป็นนักแซกโซโฟนรุ่นใหม่ที่น่าจับตาทีเดียว
เมื่อนิชฌานชนะเลิศการประกวดเยาวชนดนตรีแห่งประเทศไทยก็ได้สร้างโอกาสและมีสิทธิที่จะได้เล่นกับวงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทยในปีถัดไป
เมื่อซ้อมวันแรก ก็ต้องขอให้อาจารย์ดริน พันธุมโกมล อาจารย์เปียโนแจ๊ซ ช่วยเหลือ เพื่อที่จะเขียนแนวทำนองของแซกโซโฟนท่อนที่ 3 ให้ใหม่ เพราะผู้ประพันธ์ได้เปิดโอกาสให้นักแซกโซโฟน “ด้นเอาเอง” แต่เนื่องจากนิชฌาน พิทยาธร เป็นนักดนตรีรุ่นใหม่ เล่นเพลงคลาสสิก เป็นเพลงใหม่ แถมยังใหม่กับการเล่นกับวงออเคสตรา ในเวลาเดียวกันก็ใหม่กับการด้นเพลงแบบแจ๊ซอีก ก็ได้แต่ไถๆ ไป จะเป็นจุดอ่อนให้ผู้ฟังต่อว่าวิจารณ์ได้ เมื่ออาจารย์ดริน พันธุมโกมล ได้เขียนแนวทำนองท่อน 3 ให้ใหม่แล้ว ก็ได้ดนตรีแนวแจ๊ซ (Sentimental Evening) ขึ้น ทำให้นิชฌาน พิทยาธร เล่นผ่านไปได้อย่างปลอดภัย ซึ่งก็ไม่มีใครรู้เบื้องหลังของการลุ้นครั้งนี้ ความสำเร็จของการแสดงได้สร้างความประทับใจให้แก่ผู้ฟังเป็นอย่างยิ่ง
การแสดงของนิชฌาน พิทยาธร เดี่ยวแซกโซโฟนกับวงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทย เป็นความสำเร็จที่โล่งอกยิ่ง เพราะว่าต้องลุ้นในหลายๆ เรื่องในเวลาเดียวกัน แต่เมื่องานท้าทายผ่านไปแล้ว ก็สามารถสรุปบทเรียนได้ว่า (1) ความเปลี่ยนแปลงจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับองค์กร เพื่อพัฒนาให้เกิดความเจริญก้าวหน้า ซึ่งเราต้องกล้าเปลี่ยนแปลง (2) อนาคตเป็นโลกของคนรุ่นใหม่ คนรุ่นใหม่มีโอกาสและมีศักยภาพสูง (3) ไม่ต้องวิ่งไปหาโลกอีกต่อไป ต้องชักชวนโลกให้มาที่นี่ เมื่อความไพเราะของโลกมาอยู่ที่ศาลายา แม้แต่เทวดาก็อยากฟัง (4) ต้องมีความกล้าหาญพอที่จะทำเรื่องกระจอกๆ ของเราให้โลกได้รู้จัก
วันนี้ สามารถบอกได้ว่า เด็กไทยมีศักยภาพความเป็นเลิศทางดนตรีมากพอที่จะสู้กับโลกตะวันตกได้แล้ว แม้จะเป็นส่วนน้อยอยู่ แต่อย่างน้อย เด็กอย่างนิชฌาน พิทยาธร ก็สามารถที่จะไปอยู่ที่ไหนก็ได้ในโลกนี้