จัดสายคล้องแซ็กเพื่อเสียงที่ดีขึ้น / Adjusting Your Saxophone Neck Strap for the Best Possible Sound

จัดสายคล้องแซ็กเพื่อเสียงที่ดีขึ้น
เขียนโดย  RN Rhythm
แปลโดย ปิยพล อัศวกาญจนกิจ

 

ในหนังสือ Easy Easy Bebob ผู้เขียนได้กล่าวถึง “ความมหัศจรรย์ของสายคล้อง”

เทคนิคนี้ได้ช่วยนักแซ็กโซโฟนหลาย ๆ คนจัดสายคล้องแซ็กอย่างเหมาะสม ซึ่งอย่างที่ผู้อ่านคงทราบดีแล้วว่าถ้าจัดสายคล้องให้อยู่ในตำแหน่งที่ดี ไม่สูงหรือไม่ต่ำเกินไป สามารถช่วยให้เราวางปากได้อย่างเหมาะสมและมีเสียงที่ดี

การจัดสายคล้องที่ไม่ดีอาจทำให้เกิดอาการปวดหลังหรือปวดต้นคอได้จากการก้มหรือเงยหน้ามากเกินไป  อีกทั้งถ้าเราก้มหน้ามาเกินไปเพื่อเล่นเสียงต่ำจะเป็นผลให้เปลี่ยนรูปปากมาเล่นโน้ตอื่นได้ค่อนข้างยาก

เวลาที่เราเล่นแซ็กโซโฟนขณะที่ยืนตรงและไม่ก้มและเงยหน้า พร้อมทั้งจัดสายคล้องให้เครื่องอยู่ในตำแหน่งที่ค่อนข้างต่ำ จะทำให้เม้าพีชและลิ้นแซ็กโซโฟนสัมผัสกับริมฝีปากล่างได้มากกว่า ส่วนการจัดสายคล้องเครื่องอยู่สูงจะสลับกัน ก็คือเม้าพีชจะสัมผัสที่ฟันบนมากกว่าและในขณะเดียวกันจะเป็นการลดการเกร็งที่ริมฝีปากล่าง ซึ่งจะทำให้เสียงค่อนข้างไบรท์กว่า 

จากภาพของ Charlie Parker ด้านบนนี้  จะเห็นได้ว่าเขาปรับสายคล้องเพื่อให้เครื่องอยู่ตำแหน่งที่ค่อนข้างสูงและเงยหน้าเล็กน้อยซึ่งสำหรับนักแซ็กหลายคน จะรู้สึกว่ามันดีกว่าการปรับให้เครื่องอยู่ในตำแหน่งที่ต่ำเพราะการก้มหน้ามีผลต่อลมที่เป่าออกมา 

อีกตัวอย่างหนึ่งก็คือ David Sanborn (อาจจะไม่ใช่ตำแหน่งที่ดีนักในการเล่น) แต่สำหรับตัวอย่างนี้ทำให้เห็นได้ว่าส่วนหนึ่งที่ทำให้เสียงของเขาไบรท์มาก ๆ น่าจะเป็นเพราะตำแหน่งของเครื่องที่อยู่ค่อนข้างสูง

 

หาตำแหน่งที่เหมาะสมหรือ “sweet spot” สำหรับจัดสายคล้องแซ็ก

ลองปรับสายคล้องให้อยู่ในตำแหน่งที่ต่างกัน (สูง-ต่ำ) โดยแต่ละครั้งที่เปลี่ยนลองวิธีตามนี้

  1. เล่นโน้ต Bb ต่ำ ระหว่างที่เป่าอยู่นั้นให้เปลี่ยนโน้ตให้สูงขึ้น 2 octaves เป็น Bb สูง
  2. เริ่มจาก Bb สูง และเปลี่ยนเป็น Bb ต่ำ

โดยต่ำแหน่งที่เหมาะสมนั้นผู้เล่นจะรู้สึกว่าสามารถเปลี่ยนโน้ตได้โดยเปลี่ยนรูปปากน้อยที่สุด

แน่นอนว่าเวลาเปลี่ยนโน้ตนั้นเราต้องมีการเปลี่ยนรูปปากบ้าง แต่การที่เราบีบปากหรือผ่อนปากน้อยที่สุดขณะที่เล่นจะทำให้ทุกอย่างง่ายลงมาก โดยเฉพาะถ้าเราปรับสายคล้องได้อย่างเหมาะสมด้วยแล้ว ไม่ว่าจะเป็น overtone, altissimo หรือโทนเสียง จะเป็นอะไรที่ง่ายขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

เพิ่มเติมเล็กน้อย การที่เราปรับสายคล้องจนได้ตำแหน่งที่ดีแล้วบางครั้งอาจทำให้นิ้วโป้งขวารับน้ำหนักเยอะไป ซึ่งถ้าเราพบกับปัญหานี้แสดงว่า เราใช้สายคล้องที่ยาวเกินไปจนทำให้เราใช้นิ้วโป้งขวาเพื่อยกตัวเครื่องขึ้น

โดยสรุปแล้ว นักแซ็กโซโฟนบางคนชอบที่จะรู้สึกว่าเป่าลมลงไปในเครื่อง ขณะที่บางคนชอบที่จะเป่าขึ้นและเล็งออกไปข้างนอก ไม่ว่าจะอย่างไรลองหาตำแหน่งที่ดีสำหรับการเล่นของคุณ คุณจะพบความแตกต่างจากสิ่งนี้ 

 

 

Adjusting Your Saxophone Neck Strap for the Best Possible Sound

By DN Rhythm

 

In my book Easy Easy Bebop, I refer to the lesson below as “the magic of the neck strap”.

 

The short tip from the book has helped so many players that I decided to give further information on finding the “sweet spot” in the adjustment of one’s saxophone neck strap. As you know neck straps are made adjustable so so as to raise or lower the horn to a comfortable position. Finding the correct position can help the embouchure and tone production.

 

Setting the length of the strap sub-optimally can cause back and neck pain from slouching and bending while playing. The optimal jaw position, the ability to effectively articulate, and the openness of the airflow require good mouthpiece placement inside of the embouchure.

 

Lowering the jaw too much to play low notes hinders moving back up the horn smoothly. If a player standing straight and looking forward lowers the horn by lengthening the strap, he can feel the reed and mouthpiece making more contact with the lower lip/teeth. As the player raises the strap they can feel the reed/mouthpiece raise up off the the lower teeth/lips. The higher the strap, the more open and brighter the sound gets.

Look at the Charlie Parker pic above, and notice the slight upward tilt of the head from the high neck strap. A very high neck strap just needs a slight upward head adjustment which for most players is much better that a lowering of the head possibly affecting the airflow.

To illustrate the principle, as a more extreme example (which may or may not be considered proper posture, and would definitely take some getting used to in any event), check out the high position of David Sanborn’s horn in the image above. It is likely that part of his signature ultra-bright sound up and down the horn comes from that position on the strap. 

 

Knowing You’ve Arrived at the “Sweet Spot”

Setting the neck strap at a few different lengths, try the following:

 

  • Hit a low Bb, and while maintaining air flow play high Bb up two octaves.
  • Do the reverse, and play from high Bb and drop two octaves to low Bb.

Playing those octaves legato or staccato will be easier with the correct setting of the neck strap’s length, and the resulting position of the horn.

 

This approach is a good place to start. Once that height is set, octave jumps are much smoother. The “sweet spot” is where there is the least amount of jaw and embouchure movement.

 

There will always be a feeling of slight adjustment as the horn is played, but fewer movements in the embouchure make for smoother and easier playing. With the right neck strap length, overtones and altissimo notes are much more easily achieved, and your overall tone production is smooth and even from top to bottom, provided you’re playing in a good position with proper air support.

 

In addition, finding this “sweet spot” this will take some of the horn’s weight off of the right thumb, and avoid the extreme thumb callus which is results from compensating for and overly-long neck strap setting.

 

Conclusion

To wrap it all up, some saxophonists like the feeling of blowing down into the saxophone, and others like the feeling of blowing up and out of the saxophone. Experiment and find that “sweet spot” neck strap length – you’ll likely be quite surprised by the results.