ความแตกต่างของวัตถุดิบที่ใช้ทำแซกโซโฟน

ความแตกต่างของวัตถุดิบที่ใช้ทำแซกโซโฟน

 

ไม่ใช่ว่า แซกโซโฟนทุกตัวทำจากทองเหลืองหรอกหรือ ?

ขึ้นอยู่กับระดับของเครื่อง ถ้าเป็นเครื่องที่พบเห็นได้ทั่วไปก็ใช่ ส่วนมากแซกโซโฟนระดับทั่วๆไปก็ทำจากทองเหลือง แต่เมื่อพูดถึงแซกโซโฟนในระดับมืออาชีพ วัตถุดิบที่ใช้ทำแซกโซโฟนมันพูดถึงได้ยาวเหยียด

 วัตถุดิบที่ใช้ทำแซกโซโฟนสร้างความแตกต่างด้านใดบ้าง?

ในทางทฤษฎีแล้ว ประเภทวัตถุดิบแต่ละชนิดที่ใช้ทำแซกโซโฟน ควรมีผลกับลักษณะของเสียง เสียงสะท้อน ความต้านทาน และที่สำคัญ ราคา มาพูดถึงรายละเอียดกันบ้าง

 ลักษณะของเสียง (Timbre) : บ่งบอกตัวตนของเครื่องดนตรี ความลึกซึ้ง ลักษณะของเสียง เกิดจากจากการรวมกันของโทนเสียง ระดับเสียง และคุณภาพเสียงโดยรวม ด้วยความเป็นแซกโซโฟน ตัวตนของแซกซ์เล่นอย่างไรก็ยังเป็นแซกโซโฟน อย่างไรก็ตามวัตถุดิบก็มีผลอยู่บ้าง เช่น สีสัน

 

เสียงสะท้อน (Resonance): เกี่ยวกับการเดินทางของเสียงผ่านท่อแตร เมื่อพูดถึงวัตถุดิบกับเสียงสะท้อนจะต้องนึกถึงความหนาแน่น ความหนาแน่นของวัตถุดิบ ยิ่งวัตถุดิบมีความหนาแน่นมากเท่าไหร่การสั่นสะเทือนของวัตถุยิ่งช้าลงทำให้ได้เสียงที่อิ่ม ยิ่งวัตถุดิบมีความบาง เสียงสะท้อนน้อย เครื่องจะตอบสนองได้ไว และใส

 ความต้านทาน (Resistance): ส่งผลต่อความรู้สึกผู้เล่น เราประเมินความรู้สึกของผู้เล่นได้สองแบบ คือ Free-Blowing และ Resistant แซกโซโฟนที่ให้ความรู้สึก Free-Blowing จะให้ความรู้สึกว่าแซกโซโฟนตอบสนองได้ไว ไม่ต้องฝืนเป่า ใช้ลมเพียงเล็กน้อย ให้ความรู้สึกกระปรี้กระเปร่า อย่างไรก็ตามเสียงที่ได้จะตื้น และขาดสีสัน ส่วนแบบ Resistant ก็ตามชื่อคือจะมีแรงต้าน การตอบสนองไม่ฉับพลันเท่า ใช้ลมมาก (อาจจะมีลมต้านสวนลงคอ) ปัจจัยสำหรับการต้านทานหลักๆ เกิดจากการผลิต แต่วัตถุดิบก็มีผลเช่นกัน

 ราคา (Cost): ยิ่งวัตถุดิบที่ใช้ทำแซกโซโฟนเป็นวัตถุดิบคุณภาพ มีราคา ยิ่งส่งผลให้แซกโซโฟนมีราคาสูงตาม

 วัตถุดิบอะไรบ้างที่ใช้ทำแซกโซโฟน

คุณสามารถเอาอะไรก็ได้มาทำแซกโซโฟน ถ้าคุณพยายามมากพอ ยกตัวอย่างเช่นต้นยุคศตวรรษที่ 20 แซกโซโฟนกราฟตัน (Grafton) ที่ทำจากอคริลิคเป็นที่นิยมมาก มีผู้เล่นที่มีชื่อเสียงที่ชื่นชอบได้แก่ ชาลี พาร์คเกอร์ (Charlie Parker) และออเน็ตต์ โคลแมน (Ornette Coleman) แต่อคริลิคขาดความแข็งแรง ทำให้กราฟตันเลิกผลิตแซกโซโฟนอคริลิคไปในที่สุด

                ในแซกโซโฟนระดับสูงๆ เราต้องเอาใจใส่ในวัตถุดิบที่เอามาทำ เช่น ทองเหลือง (Brass) ทองแดง (Red Brass) เคลือบเงิน (Silver Plate) นิกเกิล (Nickle Silver) และเนื้อเงิน (Solid Silver)

 ทองเหลือง (BRASS)

   

                จะสังเกตได้ว่าแซกโซโฟนส่วนมากจะทำเป็นสีทองเหลือง เป็นวัตถุดิบที่นิยมสำหรับนักทำเครื่องดนตรีเพราะให้ระดับเสียงที่ยืดหยุ่น ขึ้นรูปง่าย โยกย้ายปรังแต่งง่าย แต่ยังคงความแข็งแรงไว้มาก เป่าได้หลากหลายโทนเสียง ส่งผลให้ผู้เล่นนำไปใช้ได้หลากหลายงาน เล่นได้หลากหลายสไตล์

คุณภาพของโลหะที่ใช้ผสมมีผลอย่างมากต่อลักษณะของเสียง โทนเสียงและราคาของแซกโซโฟน ต้องผสมระหว่างสังกะสีและทองแดงอย่างเหมาะสม แซกโซโฟนที่ใช้ทองเหลืองทั่วไปผสมทองแดงน้อยจะเป็นสีเหลือง ในขณะที่แซกโซโฟนทองเหลือที่คุณภาพสูงกว่าจะผสมทองแดงเยอะสีจะเป็นสีทอง ทองเหลืองมักไม่ให้โทนเสียงที่เด่นชัดเท่าวัตถุดิบอื่นๆ นั่นหมายความว่าผู้เล่นสามารถเติมสรรค์สร้างซาวด์ของตัวเองลงไปได้ แต่ก็มีข้อจำกัด ขาดซาวด์อุ่นๆ ที่ต้องใช้เครื่องดนตรีที่ทำมาจากวัตถุดิบที่มีความหนาแน่นกว่า

 

RED BRASS

                มาถึงสีทองแดงกับสีทองเหลืองต่างกันด้วยเพราะการผสมของโลหะ ระหว่างทองแดงและสังกะสีเช่นกัน โดยที่สีเหลืองจะผสมกันอยู่ที่อัตรา ทองแดงประมาณ 50-70% จะให้เสียงที่กระชับ และสว่าง มีราคาถูก ขณะที่สีทองจะผสมทองแดงมากขึ้น มีอัตราอยู่ที่ประมาณ 70-80%

                ยิ่งผสมทองแดงเยอะยิ่งให้เสียงสะท้อนมีความอิสระ กว้าง และอิ่ม ทำให้สีทองเหมาะสำหรับผู้เล่นมืออาชีพกว่า ส่วนสีทองแดงผสมทองแดงประมาณ 85% แต่ก็ยังให้เสียงโดยรวมคล้ายๆกัน ด้วยเนื้อทองแดงที่ผสมเยอะทำให้มีเสียงสะท้อนเยอะ แซกโซโฟนจะความเป็นตัวเองสูงทำให้ลดความกว้าง ความยืดหยุ่นของโทนเล็กน้อย อาจจะไม่เหมาะกับบางงาน หรือสไตล์การเล่นบางสไตล์

 

 

เคลือบเงิน (SILVER PLATE)

เมื่ออ่านมาถึงส่วนนี้บางท่านอาจคิดว่า “การเคลือบเงินเป็นเรื่องของตัวเลือกตกแต่งขั้นจบ ไม่ใช่วัตถุดิบ ตอนแรกผู้เขียนเองก็คิดแบบนั้น แต่หลังจากสืบค้นข้อมูลทำให้พบว่าตัวเลือกนี้แหละเหมาะสมแล้ว เพราะมีความแตกต่างระหว่างเคลือบเงินกับเคลือบแบบแลคเกอร์ เพราะการเคลือบเงินนี้จะทำให้เนื้อเงินประสานเข้ากับเนื้อทองเหลืองด้วยไฟฟ้า หมายความว่าเนื้อเงินจะผสมผสานรวมเป็นเนื้อเดียวกับโลหะไม่ใช่แค่เคลือบให้ติดผิว

                ขั้นตอนการผลิตนี้ก็ส่งผลต่อความตอบสนองของวัตถุดิบที่ใช้ และการเคลือบเงินนี้ส่งผลให้การตอบสนองของเสียงเปลี่ยนแปลงไปด้วย นอกจากนี้ยังเพิ่มน้ำหนัก เมื่อมีการเพิ่มน้ำหนักก็ทำให้การสั่นของเสียงช้าลง ให้เสียงที่กลมกล่อมขึ้น การตอบสนองดีขึ้น เพิ่มแรงต้านทานนิดหน่อย และเมื่อเสียงมีความซับซ้อนขึ้นก็ทำให้เกิดแรงต้านทานเพิ่ม นอกจากนี้ยังทำให้แซกโซโฟนต้องการการดูแลมากขึ้นหากต้องการให้ยังคงสภาพที่สวยงาม

 

 

 บรอนซ์ (BRONZE)

 

บรอนซ์เป็นที่นิยมที่สุดในหมู่วัตถุดิบที่ไม่ใช่จำพวกทองเหลือง สำหรับบรอนซ์ยังมีส่วนประกอบหลักเป็นทองแดงอยู่ แต่ครั้งนี้ส่วนประกอบที่มีศักยภาพสำคัญที่สุดก็คือดีบุก ทำให้ได้วัตถุดิบที่มีความหนาแน่นที่มากับการสะท้อนที่สูงกว่าวัตถุดิบทองเหลือง เสียงสะท้อนนี้ทำให้แซกโซโฟนมีเสียงอุ่น ซับซ้อน มีสีสัน (สาระน่าสนใจฉาบสำหรับนักดนตรีมืออาชีพมักจะทำด้วยบรอนซ์มากกว่าทองเหลือง)

                ความหนาแน่นของบรอนซ์ทำให้แรงต้านขณะเป่าเพิ่มขึ้นมากมายตามน้ำหนัก ทำให้บอดี้ของแซกโซโฟนทำงานหนักขึ้น แต่ก็ได้ความอุ่น และการสั่นเสียงของแซกโซโฟนให้ความลึก หม่นเล็กน้อย ดังนั้นบรอนซ์จึงเป็นที่นิยมมากในการผลิตเครื่องแซกโซโฟนที่ระดับเสียงสูง เช่น โซโปราโน และบาริโทน

 

นิกเกิล (NICKEL SILVER)

นิกเกิลเป็นวัตถุดิบที่แปลกและน่าสนใจ ชื่อภาษาอังกฤษคือ Nickel Silver ด้วยความที่มีคำว่า Silver อาจทำให้เข้าใจผิดว่ามีเงินเป็นส่วนประกอบ นอกจากนี้นิกเกิลยังมีความหนาแน่นอย่างเหลือเชื่อ และให้เสียงสะท้อนมาก แต่จะให้การตอบสนองไม่เหมือนกับบรอนซ์ หรือเงิน โดยรวมแล้วนิกเกิลให้เสียงที่ใสกว่า ให้การตอบสนองต่อหูได้ดี

                โทนเสียงนิกเกิลให้ความดุดันล้วนๆ เหมาะกับทำแซกโซโฟนเพื่อนักโซโล่ หรือสำหรับเล่นแนวร็อกแอนด์โรล แนวฟังก์ แซกซ์นิกเกิลค่อนข้างไปในทาง Free-blowing คือ เป่าง่าย ตอบสนองไว ยิ่งใช้วัตถุดิบที่มีน้ำหนักมากยิ่งทำให้เสียงดุดัน อาจจะไม่เหมาะกับผู้เล่นบางกลุ่ม เช่น ผู้ที่เล่นหวานๆ สบายๆ เพราะมีน้ำหนักมาก และเสียงดังกว่าแซกโซโฟนที่ทำจากวัตถุดิบอื่น

 

 

เนื้อเงิน (SOLID SILVER)

                วัตถุดิบสุดท้ายที่จะนำเสนอคือเงิน เงินเป็นวัตถุดิบชนิดเดียวในรายชื่อที่กล่าวมาซึ่งไม่ได้อยู่กลุ่มเดียวกับจำพวกวัตถุดิบประกูลทองเหลืองทั้งหลาย มีลักษณะเฉพาะที่ทำให้เป็นวัสดุที่พิเศษมากสำหรับเครื่องดนตรี มีหนาแน่นมาก  ดังนั้นเงินจึงมีเสียงสะท้อนที่มาก สร้างแรงสั่นสะเทือนได้มากที่สุดในหมู่วัตถุดิบทั้งหมด ให้ความหนา อิ่ม และอุ่นในตอนท้าย.

                ในช่วงเสียงกลางและสูง โทนเสียงจะมีทิศทางที่ชัดเจน เสียงไม่ทะลุทะลวงเกินไปทำให้เครื่องเงินเหมาะสำหรับเล่นร่วมกับวง โดยเฉพาะในวงคลาสสิคที่โทนเสียงของแซกโซโฟนปกติจะแผดโดดออกมา แต่แซกโซโฟนเงินยังต้องการการผลักดันด้านงานไฟฟ้า ด้วยความที่แซกโซโฟนเงินมีความหนาแน่นสูงมากทำให้เวลาเล่นมีแรงต้านพอสมควร ผู้เล่นสามารถเล่นโทนเสียงได้กว้าง แต่ก็เล่นได้ลำบาก อีกประการที่น่าห่วงสำหรับแซกโซโฟนเงินก็คือเป็นโลหะที่ราคาแพง แต่บาง และเป็นรอยหรือเกิดคราบได้ง่าย ต้องดูแลอย่างดี ใช้เคสที่แน่นหนา

 

โลหะผสม (MIXED METAL SAXOPHONES)

ไม่มีใครบอกว่าแซกโซโฟนต้องทำจากวัตถุดิบเพียงชนิดเดียว ในการทำแซกโซโฟนสักตัวต้องประกอบหลายๆส่วนเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นท่อลม ข้อต่อ ส่วนคอ ส่วนลำโพง ต่างก็สร้างแยกกันแล้วนำมาประกอบ ดังนั้นการนำแซกโซโฟนชิ้นส่วนต่างๆ จากวัตถุดิบต่างชนิดมาต่อเข้าด้วยกันก็สามารถทำได้ ด้วยความที่เป็นวัตถุดิบชนิดต่างกัน คุณสมบัติต่างกัน จะทำให้แซกโซโฟนมีความแปลกใหม่ ให้การตอบสนองที่ต่างกันทุกๆส่วน

                ชิ้นที่ประสบความสำเร็จควรจะได้การผสมผสานกันอย่างลงตัวของเสียงสะท้อนที่ตอบสนองอย่างซับซ้อนซึ่งกันและกัน วัตถุดิบโลหะโดยทั่วไปที่นำมาผสมกันคือ ทองเหลือง บรอนซ์ และเงิน ต่างก็ทำให้เกิดเสียงตอบสนอง และโทนเสียง ถ้าคุณกำลังมองหาประสบการณ์ทางเสียงที่แปลกใหม่ แซกโซโฟนที่ทำจากโลหะผสมก็เป็นอีกทางเลือกที่คุ้มค่าน่าลอ

 

 

 

แปลจาก: https://www.sax.co.uk/blog/beginners/does-it-make-a-difference-part-1-saxophone-material/