การศึกษาเดี่ยวแซ็กโซโฟนเพลงสารถี 3 ชั้น ทางครูสมาน รักจันทร์

การศึกษาเดี่ยวแซ็กโซโฟนเพลงสารถี 3 ชั้น ทางครูสมาน รักจันทร์

THE STUDY OF THE SOLO SAXOPHONE IN SARATHEE SAMCHAN SONG: A CASE STUDY OF KHRU SAMAN RAKCHAN

ไพรัตน์ แสงทอง
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

 

บทคัดย่อ

          การศึกษาเดี่ยวแซ็กโซโฟนเพลงสารถี3 ชั้นทางครูสมาน รักจันทร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติและผลงานทาง ด้านดนตรีเทคนิคการบรรเลงและสำนวนกลอนรวมทั้งความสัมพันธ์ของทางแซ็กโซโฟนเพลงสารถี3 ชั้น กับทางฆ้องวงใหญ่ ของ ครูสมาน รักจันทร์ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงพรรณา (Descriptive Research) ได้ศึกษาข้อมูลจากเอกสารวิจัย ตำราทางวิชาการ เอกสาร สิ่งพิมพ์แผ่นบันทึกเสียง และข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผลการศึกษามีดังนี้

          ครูสมาน รักจันทร์ มีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก บิดามารดาประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีพี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกัน 6 คน เดิมบรรจุเป็นข้าราชการทหารเรือ ตำแหน่งเครื่องดนตรีคาลิเน็ท ประจำหมวดวงโยธวาทิตของกองดุริยางค์ กองทัพเรือ ต่อมาได้ลาออกจากราชการทหาร ไปประกอบอาชีพนักดนตรีในวงดนตรีลูกทุ ่ง สายันต์ สัญญาและกลับเข้ามารับ ราชการทหารอีก จังหวัดฉะเชิงเทรา ปัจจุบันโอนย้ายมารับราชการครู โรงเรียนวัดดอนทอง ครูสมาน รักจันทร์ มีผลงานสำคัญโดย การส่งนักเรียนเข้าประกวดในรายการเซ็ทเทรด เยาวชนดนตรีแห่งประเทศไทย ได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทอง เครื่องดนตรีประเภท อัลโต้แซ็กโซโฟน ด้วยการทำทางเดี่ยวแซ็กโซโฟนเพลงสารถี3 ชั้น จากการศึกษาทางเพลงเดี่ยวของครูผู้วิจัยพบว่า เทคนิคการบรรเลง และสานวนกลอน เพลงเดี่ยวสารถี3 ชั้น ทางครูสมาน รักจันทร์ มีการใช้เทคนิคที่สำคัญ 5 ประการ คือ การเคลื่อนที่ตามลำดับขั้น (Conjunet Motion) การกระโดดข้ามขั้น (Disjunet Motion) การสะบัดนิ้ว (Appossiatura) การพรมนิ้ว (Trill) และการระบายลม (Circular Breathing) เป็นเทคนิคขั้นสูงที่ผู้บรรเลงแซกโซโฟนจำเป็นจะต้องเรียนรู้และฝึกฝน ให้เกิดความชำนาญ ความสัมพันธ์ของ ทางแซ็กโซโฟนเพลงสารถี3 ชั้น กับทางฆ้องวงใหญ่ ในท่อนที่ 1 มีอยู่ใน 3 บันไดเสียงคือ โด ฟา และ ทีซึ่งแซ็กโซโฟนและฆ้องวงใหญ่ ลงลูกตกเสียงเดียวกัน 6 เสียงคือ โด เร ฟา ซอล ลา ทีส่วนทำนองท่อนที่ 2 และ 3 มีอยู่ใน 2 บันไดเสียงคือ บันไดเสียง โด และ ฟา ซึ่งแซ็กโซโฟนและฆ้องวงใหญ่ลงลูกตกเสียงเดียวกัน 6 เสียงคือ โด เร มีฟา ซอล ลา

          จากการศึกษาเดี่ยวแซ็กโซโฟนเพลงสารถี3 ชั้นทางครูสมาน รักจันทร์ทำให้ผู้วิจัยพบว่าลักษณะของ ทำนองเพลง สำนวนกลอน แสดงถึงอัตลักษณ์ของครูในด้านอุปนิสัยที่มีความละเอียด มีความคิดสร้างสรรค์และเป็นผู้ใฝ่รู้มีความรักในด้านเพลงไทย

คำสำคัญ : เคลื่อนที่ตามลำดับขั้น กระโดดข้ามขั้น สะบัดนิ้ว พรมนิ้ว ระบายลม ลูกตก

 

Abstract

          The purposeof this research was tostudy KhruSamanRakchan’s biography,his works in music,his technique to play music, the idiomatic poetry and the relationship between the saxophone and the Kong Wong Yai to play Sarathee Samchan Song. It was a descriptive research that the data were collected from documents, text-books, printed matters, tape-records and interviews.

          The results of this research were as follow:

          Khru Saman Rakchan had lived in Amphor Banna, Nakonnayok Province. His parents were farmers and they had got 6 children. Heused to be anavalofficer. He was alsoa clarinet’s inRoyalThai Navy Music Division. Later,he resigned to bea musicianat folk band of SayanSanya and returned to beanavalofficer again. At last,hetransferred to be a teacher at Wat Don Thong School. His remarkable work was that his students competed to blow the alto saxophone by solo saxophone in Sarathee Samchan Song and won the golden medal. The researcher found that his technique to play music and the idiomatic poetry were used 5 techniques that were Conjunct Motion, Disjunct Motion, Appossiatura, Trill and Circular Breathing which the saxophone’s had to study and practice to be expert. The relationship between saxophone and the Kong Wong Yai to play Sarathee Samchan Song was that there were three scales; C scale, F scale and B scale, in the first verse and the Luk Tok in six scales; C scale, D scale, F scale, G scale, A scale and B scale; between the saxophone and the Kong Wong Yai were the same. There were two scales; C scale and F scale; in the second and the third verses and the Luk Tok of the saxophone and the Kong Wong Yai were the same. In the third verse, there were two scales; C scale and F scale; and the Luk Tok of saxophone and the Kong Wong Yai were the same in six scales; C scale, D scale, E scale, F scale, G scale and A scale. The melody and the idiomatic poetry to solo of the saxophone in Sarathee Samchan Song of Khru Saman denoted his intelligence, his creativity and his affection in Thai Songs.

          Keywords : Conjunct Motion, Disjunct Motion, Appossiatura, Trill, Circular Breathing, Luk Tok

 

บทนำ

          วัฒนธรรมของมนุษย์ ในแต ่ละพื้นที่เกิดจากการเรียนรู้ สืบทอดเรื่องราวต่างๆ จากอดีตจนถึงปัจจุบัน จากรุ่นสู่รุ่นซึ่งมี ความเหมือนและแตกต่างโดยสิ้นเชิง ทั้งภาษา อาหาร และความ เป็นอยู่ รวมถึงขนบธรรมเนียมประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติกันมา แต่มี สิ่งหนึ่งที่สามารถหลอมรวม ความรู้สึก ความคิด ความแตกต่าง ทางวัฒนธรรมของมนุษย์ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้สิ่งนั้นคือ ดนตรี

          ดนตรีเป็นศิลปะโลก เกิดขึ้นจากการสร้างสรรค์ของจิตใจ มนุษย์ดนตรีเป็นศาสตร์ชั้นสูงเกี่ยวกับมนุษย์ มาช้านาน ศิลปะ การดนตรีก ่อให้เกิดความประทับใจมากที่สุด ศิลปะการขับร้อง แสดงความรู้สึกนึกคิดได้ตรงที่สุด และดนตรีที่ยืนนานที่สุด ตรงไปตรงมาที่สุด คือ เสียงขับร้อง การร้องเพลงจึงเป็นกิจกรรม ที่แสดงออกทางดนตรีที่นำไปสู่ความเข้าใจ เกี่ยวกับองค์ประกอบ ของดนตรีและความซาบซึ้งในดนตรีสื่อถึงอารมณ์ของมนุษย์ เมื่อ ได้ฟังดนตรีเรามักรู้สึกเพลิดเพลินกับความไพเราะของเสียง และ เกิดจินตนาการต่างๆ ดนตรีนับว่าเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในชีวิต มนุษย์รู้จักการร้องรำทำเพลงแบบธรรมชาติเคาะหิน เคาะไม้ เป่าเขาสัตว์ เป่ากระดูกสัตว์ทำเป็นเสียงต่างๆ การร้องรำทำเพลง ของมนุษย์ในยุคนั้นโดยมากมักทำขึ้นเพื่ออ้อนวอนพระเจ้าให้บันดาล ความสุขความอุดมสมบูรณ์ต่างๆ หรือเพื่อแสดงความขอบคุณ พระเจ้าให้มีความสุขความสบาย ดังนั้นดนตรีมิใช่เป็นเพียงความ พอใจของมนุษย์แต่ยัง แสดงออกมาเพื่อตกแต่งชีวิตให้วิจิตรและ มีสีสัน หรือเป็นเพียงสิ่งสวยงามหรือความไพเราะในแง่ของเสียง เท่านั้น แต่ดนตรีมีบทบาทที่สำคัญและผูกพันกับวิถีชีวิตของมนุษย์ ตลอดมา วิภา คงคากุล ได้กล่าวว่า มนุษย์กับดนตรีมีความผูกพัน กันมานานตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน เป็นทุกแบบ ของพฤติกรรมทางสังคมที่เริ่มต้นจากการแสดงของอารมณ์และ ประสบการณ์ต่างๆ ตามความต้องการพื้นฐานของการดำรงชีพ (วิภา คงคากุล.2537:34)ดนตรีมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่ในสมัยก่อน ประวัติศาสตร์ เมื่อมนุษย์อาศัยอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ เช่น อาศัย อยู่ในถ้ำ อาศัยอยู่ในโพรงไม้เพื่อให้เกิดความผาสุก ความมั่นคง และความปลอดภัยต่อตัวเอง กลุ่มชนสมาชิกในสังคมจึงต้องมีการ ประกอบพิธีกรรมบวงสรวง การเซ่นสังเวย ดนตรีจึงเป็นส่วนร่วม ในพิธีกรรมดังนี้เพื่อให้เกิดความสงบสุขในวิถีชีวิตของคนในสังคม นั้นๆจะเห็นว่าดนตรีมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันดนตรีจึงเป็น ปัจจัยที่สำคัญที่นอกเหนือจากปัจจัย 4 การเล่นดนตรีเข้าไปอยู่ใน สังคมมนุษย์ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถแยกดนตรีออกจากชีวิตประจำวันได้ ดนตรีเป็นมรดกที่รับใช้สังคมมนุษย์ทุกชาติทุกภาษา ทุกชนชั้น ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (กาญจนา อินทรสุนานนท์, 2532 : 63) ดนตรีเกิดจากอารมณ์ของมนุษย์ ดีใจ สนุกสนาน ก็ปรบมือ กระทืบเท้า เสียใจก็ร้องคร่ำครวญ จังหวะน่าจะเกิดก่อนทำนอง หรือเกิดขึ้นมาพร้อมๆ กันเมื่อใดก็ตามที่ทำเสียงสูงต่ำเป็นทำนอง จังหวะก็จะมีมาเองอาจจะเป็นระบบหรือไม ่เป็นระบบก็แล้วแต ่ การทำจังหวะหรือทำนองของมนุษย์ที่ถือกำเนิดตามส่วนต่างๆ ของโลกนั้น แรกเริ่มเดิมทีก็คงไม่ต่างกันมากนัก ต่อมาเมื่อมนุษย์ รู้จักพัฒนาความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น เจริญขึ้น กลายเป็นวัฒนธรรมของ มนุษย์แต่ละเผ่า ต่างกันไปตามสภาพทางภูมิศาสตร์คือ พื้นที่อยู่ อาศัย สภาพของภูมิอากาศ และพืชพันธุ์ธรรมชาติที่เป็นเครื่อง บังคับให้มนุษย์ต้องปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาตินั้นๆ เพื่อความ อยู่รอดของตัวเอง รวมทั้งวัฒนธรรมที่ยุ่งยากสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น เช่น ภาษาพูด ซึ่งอนุวัตตามการได้ยินเสียงต่างๆ ทั้งเสียงธรรมชาติ และเสียงสูงต่ำ ที่เป็นองค์ประกอบของภาษาพูดและดนตรีเสียง ธรรมชาติที่มนุษย์ได้ยินเป็นอย่างเดียวกันและเหมือนกัน แต่ตี ความและแสดงออกซึ่งเสียงนั้นไปคนละอย่าง สุดแล้วแต่สภาพ ทางร่างกาย สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมเป็นที่สุด ตัวอย่างเช่น ไก่ขัน หมาเห่า นกร้อง ฟ้าร้อง ซึ่งเหมือนกันทั่วโลก แต่มนุษย์ที่ อยู่ต่างสภาพภูมิศาสตร์ต่างวัฒนธรรม ต่างก็ออกเสียงในภาษา ต่างๆ ไม่เหมือนกัน แม้แต่ตระกูลเดียวกันก็ยังต่างกันออกไปตาม ท้องถิ่น ระบบเสียงดนตรียิ่งละเอียดและสลับซับซ้อนยิ่งขึ้นไปอีก (ปัญญา รุ่งเรือง.2521:1)ดังนั้นเสียงจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับ ดนตรีและเป็นตัวบ่งบอกให้เห็นถึงความงามของท่วงทำนอง ด้วยดนตรีเป็นสิ่งที่มีคุณค่าทางสุนทรียะ ทำให้เกิดความรู้สึกดีงาม ท่าพิจารณาถึงความสวย ความงาม ความดีและความไพเราะซึ่ง เป็นคุณค่าทางดนตรีความสวยความงามมิใช่จะสัมผัสได้เฉพาะ ทางตรงเท่านั้น แม้ในดนตรีที่เราสัมผัสในทางหูอย่างเดียวก็มีความ สวยงามอยู่เช่นกัน ท่วงทำนองเสียง ลีลา และความไพเราะนี้เอง เป็นความสวยความงามของดนตรีที่แสดงถึงความ ประณีต ละเมียด ละไมและสูงสุดเพียงใดความสวยงามของดนตรีก็ยิ่งมากขึ้นเพียงนั้น (สงัด ภูเขาทอง. 2532 : 18) และทุกชาติทุกภาษาต่างมีศิลปะ ประกอบดนตรีเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ดั้งนั้นการลอกเลียนแบบ จึงทำได้ไม่ง่ายนัก โดยเฉพาะดนตรีไทยของเรานับว่าเป็นดนตรีที่ มีความไพเราะมากและจัดเป็นดนตรีคลาสสิคประเภทหนึ่ง ยังมี ดนตรีประเภทหนึ่งที่ภาคตะวันตกได้นำมาเผยแพร่ และเป็นที่รู้จัก กันทั่ว ดนตรีประเภทนี้นับว่าหลายชาติหลายภาษาเล่นได้แต่ลีลา ท่วงทำนองก็เป็นไปตามลักษณะของชนกลุ่มนั้น ดนตรีที่แพร่หลาย นี้เรียกว่า “ดนตรีสากล” (บันเทิง ชลช่วยชีพ, 2539: 1)การพัฒนา วงดนตรีให้ดีนั้นจะต้องอาศัยผู้เข้าถึงดนตรีเป็นอย่างดีทั้งในด้าน ทฤษฎีและปฏิบัติคีตกวีมีหน้าที่สร้างสรรค์ประพันธ์ดนตรีซึ่งต้อง ใช้ความอุตสาหะวิริยะเป็นอย่างยิ่ง เพราะการประพันธ์ดนตรีนั้น ประกอบด้วยความซับซ้อนสวยงามของทำนองเพลง ความกลมกลืน ของเสียงประสาน และจินตนาการต่างๆ ที่คีตกวีได้บรรยายไว้ใน การประพันธ์ดนตรีผลงานการประพันธ์ของคีตกวีต่างมีเอกลักษณ์ เป็นของตนเอง เป็นเพราะความแตกต่างของคีตกวีแต่ละท่าน ทำให้ลักษณะพิเศษเป็นของส ่วนตัว สิ่งสำคัญที่น่าสนใจของคีตกวีที่ นอกเหนือจาก ความสุนทรียะทางด้านการประสานเสียงและ จินตนาการต่างๆ ที่ คีตกวีได้บรรยายไว้ในการประพันธ์ดนตรี (สุกรี เจริญสุข, 2538 : 86)

          สำหรับชาติไทยก็มีเพลงเป็นเอกลักษณ์ของตนเองและมี การสืบทอดมาถึงปัจจุบัน ในยุคที่เพลงไทยได้เจริญก้าวหน้าและ รับใช้สังคมจนกระทั่งถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ไทยเริ่มคบค้ากับฝรั่งมากขึ้น อารยธรรมตะวันตกจึง แพร่เข้าสู่ไทย รวมทั้งเพลงฝรั่งที่มีอิทธิพลต่อเพลงไทย จึงเกิดการ รับวัฒนธรรมทางดนตรีจากประเทศตะวันตก ก่อให้เกิดเพลงไทย สากล ผู้ให้กำเนิดหรือริเริ่มในการแต่งเพลงไทยสากลเป็นคนแรก ได้แก่ สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งทรงพระนิพนธ์เพลงหลังจากเสด็จกลับมาจากยุโรปเมื่อ พ.ศ. 2446 ขณะทรงมีพระชนมายุเพียง 23 พรรษา เพลงดังกล่าวเป็น โน้ตสากล ใช้จังหวะแบบสากลแต่ทำนองก็ยังเป็นไทยอยู่ เมื่อมี การเรียนการสอนดนตรีในรูปแบบเพลงไทยสากล จึงก่อเกิด นักประพันธ์เพลงขึ้นหลายทำนองทั้งทำนองและคำร้อง (จำนง รังสิกุล, 2517 : 64)

          องค์ประกอบที่สำคัญของดนตรีคือ นักดนตรี คนแต่งเพลง คนฟังดนตรีเวลา และโอกาสที่จะแสดง บทบาทของเพลงไทยใน ยุคปัจจุบันยังขาดผลสัมฤทธิ์ต่อการเผยแพร่วัฒนธรรมทางดนตรี ให้เกิดความเข้มแข็ง การเข้าถึงเยาวชนรุ่นใหม่ และกลุ่มผู้ฟัง อย่างทั่วถึง ซึ่งการจะทำเช่นนั้นได้ก็ต้องมีการพัฒนา ประดิษฐ์ หรือหาวิธีการเผยแพร่เพลงไทย รูปแบบการนำเสนอ และวิธีการ บรรเลงที่สามารถเรียกร้องกลุ่มผู้ฟังให้เกิดความสนใจในเสน่ห์ ของเพลงไทย ทำให้เพลงไทยไม่สูญหายและเข้มแข็งได้รับการพัฒนา อย่างต่อเนื่อง

          ครูสมาน รักจันทร์เป็นท่านหนึ่งที่ได้รับการบรรจุเป็นนักเรียน ดุริยางค์ทหารเรือ ได้สอบชิงทุนของนักเรียนดุริยางค์ทหารเรือเพื่อ ไปศึกษาต่อในด้านการเรียบเรียงเสียงประสาน ณ ประเทศอังกฤษ หลังจากจบการศึกษาจากประเทศอังกฤษ ครูสมาน รักจันทร์ ได้ออกจากราชการทหารเพื่อเป็นหัวหน้าวงดนตรีลูกทุ่งให้กับ สายัณห์ สัญญา แต่เมื่อ สายัณห์สัญญาได้ประกาศยุบวงดนตรี ลูกทุ่ง ครูสมาน รักจันทร์ จึงออกมาเป็นนักดนตรีอาชีพและ รับจ้างเขียนเพลงต่างๆ ทุกประเภท

          ครูสมาน รักจันทร์ ได้เข้ารับราชการทหารอีกครั้งใน ตำแหน่งทหารช่าง ณ ค่ายศรีโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา ด้วยความรู้ ความสามารถ จึงทำให้โรงเรียนต่างๆ ในจังหวัดฉะเชิงเทรา เชิญให้ เป็นวิทยากรสอนดนตรีต่อมา ครูสมาน รักจันทร์ ได้โอนย้ายจาก ราชการทหารมาเป็นครูอยู่โรงเรียนวัดดอนทอง ด้วยความที่เป็น นักดนตรีสากลมีความสนใจเพลงไทยเดิมจึงทำให้ครูสมาน รักจันทร์ เกิดความคิดที่จะศึกษาเพลงไทยเดิมอย่างจริงจัง โดยเริ่มจากการทำคณะแตรวงภายในโรงเรียนและเชิญชวนผู้สนใจมาร่วมบรรเลง ทั้งแบบไทยเดิมแท้ๆ และในรูปเพลงไทยเดิมที่เรียบเรียงใหม่ตาม หลักการประสานเสียงของสากล เพื่อให้เครื่องดนตรีสากลบรรเลง เพลงไทยได้สะดวกและเกิดความไพเราะมากยิ่งขึ้น รูปแบบการ ประสานเสียงและผลงานที่เห็นประจักษ์ในการเรียบเรียงเสียง ประสานโดยใช้เพลงไทยเดิมคือการเข้าร่วมประกวดแตรวงชาวบ้าน ณ ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในบทเพลง อะแซหวุ่นกี้ เถา ซึ่งการ ประกวดครั้งนี้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง ด้วยความสนใจ และความมุ่งมั่นในการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ครูสมาน รักจันทร์เกิดความชำนาญในการเรียบเรียงเสียงประสานจากเพลง ไทยเดิมจนสามารถคิดประดิษฐ์ทางดนตรีและสำนวนกลอนใน รูปแบบเพลงเดี่ยวและเพลงเถาอีกหลายๆ เพลง

          เพลงเดี่ยวสารถี3ชั้นทางแซ็กโซโฟนของครูสมาน รักจันทร์ เป็นการคิดค้นขึ้นใหม่เพื่อใช้ในการประกวดเซ็ทเทรดเยาวชนดนตรี แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 8 ทำให้ได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทอง ในปีพ.ศ.2548 และได้รับเชิญให้ไปบรรเลงเพลง ร่วมกับวิทยาลัย ดุริยางคศิลป์ศาลายา เพื่อเผยแพร่ วัฒนธรรมทางด้านดนตรีของ ไทย ณ ประเทศเม็กซิโก

          ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษา เดี่ยวแซ็กโซโฟน เพลงสารถี3ชั้นของครูสมาน รักจันทร์เพื่อศึกษา วิเคราะห์ในบริบทเทคนิคการบรรเลงและสำนวนกลอนทางแซ็กโซโฟน เพลงสารถี3 ชั้น ของครูสมาน รักจันทร์โดยคิดค้นทางเพลงและ สำนวนกลอนขึ้นใหม่ จนทำให้ได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประกวด ซึ่งเป็นนวัตกรรมการบรรเลงเพื่อเผยแพร่เพลงไทยในรูปแบบเครื่อง ดนตรีสากล รวมทั้งจะช่วยส่งเสริม สนับสนุน การอนุรักษ์และ สืบทอดวัฒนธรรมทางด้านดนตรีให้แพร่หลายและคงอยู่คู่ประชาชน และสังคมไทยสืบต่อไป

 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

          1. เพื่อศึกษาประวัติและผลงานทางด้านดนตรีของครูสมาน รักจันทร์

          2. เพื่อศึกษาสำนวนกลอนและเทคนิคการบรรเลงแซ็กโซโฟน เพลงสารถี3 ชั้นของครูสมาน รักจันทร์

          3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของทางแซ็กโซโฟนเพลงสารถี 3 ชั้น กับทางฆ้องวงใหญ่ของครูสมาน รักจันทร์

          การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยใช้วิธีการสัมภาษณ์ครูสมาน รักจันทร์ เป็นข้อมูลปฐมภูมิและใช้วิธีวิเคราะห์องค์ประกอบความรู้ทางดนตรี วิทยา ข้อมูลทางวิชาการจากเอกสารวิจัย หนังสือทางวิชาการ เอกสารสิ่งพิมพ์ แผ่นบันทึกเสียง วีดีทัศน์ และผู้ที่มีประสบการณ์ โดยตรง ทำให้ได้มาซึ่งข้อมูลทุติยภูมิ เพื่อให้การศึกษาวิจัยบรรลุตาม วัตถุประสงค์ จึงดำเนินการศึกษาค้นคว้าตามขั้นตอนดังนี้

 

อุปกรณ์และวิธีดำเนินการวิจัย

          ขั้นรวบรวมข้อมูล

          1. รวบรวมข้อมูล ชีวประวัติและผลงานของ ครูสมาน รักจันทร์จากเอกสารตำรา ด้านต่างๆ ดังนี้

                     1.1 ประวัติส่วนตัว

                     1.2 สภาพครอบครัว

                     1.3 การศึกษาอบรมเบื้องต้น

                     1.4 ชีวิตและผลงานด้านบันเทิงศิลปิน

                     1.5 ผลงานด้านอื่นๆ

                     1.6 ข้อมูลจากสิ่งพิมพ์วารสาร บทความ บทวิเคราะห์ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้อง กับ ครูสมาน รักจันทร์

                     1.7 วิทยานิพนธ์และผลงานการวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง กับงานวิจัยเล่มนี้

          2. ศึกษาเทคนิคการบรรเลงและส�ำนวนกลอนเพลงสารถี 3 ชั้นของครูสมาน รักจันทร์

          3. ศึกษาความสัมพันธ์ของทางแซ็กโซโฟนเพลงสารถี3ชั้น กับทางฆ้องวงใหญ่ของครูสมาน รักจันทร์

 

          ขั้นศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล

          1. ศึกษาประวัติของ ครูสมาน รักจันทร์ นำประวัติและ ผลงานของครูสมาน รักจันทร์ที่รวบรวมได้มาจากขั้นที่1 มาประมวล เรียบเรียงบันทึกไว้แบ่งออกดังนี้

                     1.1 ประวัติส่วนตัว

                     1.2 สภาพครอบครัว

                     1.3 ชีวิตในวัยเยาว์

                     1.4 การศึกษา

                     1.5 ชีวิตก่อนเข้าสู่อาชีพศิลปิน

                     1.6 ชีวิตอาชีพศิลปิน

                     1.7 รางวัลเกียรติคุณที่ได้รับ

          2. สำนวนกลอนและเทคนิคการบรรเลงแซ็กโซโฟนเพลง สารถี3 ชั้นของครูสมาน รักจันทร์

               2.1 สำนวนกลอน

                     2.1.1 ท่วงทำนองหลัก (Motif)

                     2.1.2 จังหวะของทำนอง (Molodic Rhythm)

                     2.1.3 การเคลื่อนที่ตามลำดับขั้น (Conjunct Motion)

                     2.1.4 การกระโดดข้ามขั้น (Disjunct Motino) 2.1.5 การซ้ำ (Repetitions)

                     2.1.6 การย้ายบันไดเสียง (Modulation)

               2.2 เทคนิคในการบรรเลงแซ็กโซโฟนและสำนวนกลอน แซ็กโซโฟนเพลงสารถี3 ชั้น

                     2.2.1 เทคนิคสะบัดนิ้ว (Appoggiatura)

                     2.2.2 เทคนิคการพรมนิ้ว (Trill)

                     2.2.3 เทคนิคการเอื้อนเสียง (Glissando)

                     2.2.4 เทคนิคการทำเสียงให้สั่นเป็นคลื่น (Vibrato)

                     2.2.5 เทคนิคการกระเพื่อมเสียง (Mordent)

                     2.2.6 เทคนิคการใช้เสียงดัง - เบา (Accentr)

                     2.2.7 เทคนิคการระบายลม (CircularBreathing)

          3. ศึกษาความสัมพันธ์ของทางแซ็กโซโฟนเพลงสารถี3ชั้น กับทางฆ้องวงใหญ่ของครูสมาน รักจันทร์

               3.1 ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเพลงสารถี3 ชั้น

                      3.1.1 ทำนอง รูปแบบ

                      3.1.2 สังคีตลักษณ์(Songform)ของทำนองหลัก (ทางฆ้องวงใหญ่)

                      3.1.3 สังคีตลักษณ์(Songform)ของทำนองแปร (ทางแซ็กโซโฟน)

                      3.2 เทคนิคการประพันธ์(Composition)

                      3.2.1 บันไดเสียง (Scaies)

                      3.2.2 เครื่องหมายกำหนดจังหวะ (Time signature)

                      3.2.3 เครื่องหมายตั้งบันไดเสียง(Keysignature)

          4. ขั้นสรุป

               4.1 นำเสนอผลงานการวิจัยแบบเชิงพรรณนาวิเคราะห์

               4.2 สรุปผลการศึกษาและวิจัย

               4.3 ข้อเสนอแนะ

 

 

 

ผลการวิจัย

          จากการศึกษาเดี่ยวแซ็กโซโฟนเพลงสารถี3ชั้น ทางครูสมาน รักจันทร์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติและผลงานทาง ด้านดนตรีเทคนิคการบรรเลงและสำนวนกลอนเพลงสารถี3 ชั้น ความสัมพันธ์ของทางแซ็กโซโฟนเพลงสารถี3 ชั้น กับทางฆ้อง วงใหญ่ของครูสมาน รักจันทร์สรุปผลการศึกษาวิเคราะห์ได้ดังนี้

           1. ชีวประวัติและผลงาน

                ครูสมาน รักจันทร์เกิดเมื่อวันที่24 มีนาคม พ.ศ.2508 ที่บ้านเลขที่ 58 หมู่ที่ 10 ตำบลบ้านนา อำเภอบ้านนา จังหวัด นครนายก เป็นบุตรของ คุณพ่อบัว รักจันทร์กับคุณแม่อร่าม รักจันทร์ ซึ่งประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 6คน ครูสมาน รักจันทร์เป็นบุตรคนที่6 เริ่มบรรจุเป็นข้าราชการ ทหารเรือ ตำแหน่ง คาลิเน็ท ประจำหมวดวงโยธวาทิตของกอง ดุริยางค์กองทัพเรือ ต่อมา ได้ลาออกจากราชการทหารเรือ ไปอยู่ กับวงดนตรีลูกทุ่ง สายันต์ สัญญา จากนั้นได้กลับเข้ารับราชการ ทหารอยู่ที่กองพันทหารช่างที่ 2 รักษาพระองค์จังหวัดฉะเชิงเทรา ในตำแหน่งพลวิทยุ และโอนย้ายมารับราชการครู โรงเรียนวัด ดอนทอง จนถึงปัจจุบัน ได้ส่งนักเรียนเข้าประกวดในรายการเซ็ทเทรด เยาวชนดนตรีแห ่งประเทศไทย ได้รับรางวัลชนะเลิศ เหรียญทอง เครื่องดนตรีประเภทอัลโต้แซ็กโซโฟน ด้วยการทำ ทางเดี่ยวแซ็กโซโฟนเพลงสารถี3 ชั้น

          2. เทคนิคการบรรเลงและสำนวนกลอนเพลงสารถี3 ชั้น

                 การบรรเลงเพลงสารถี3ชั้น เทคนิคที่สำคัญ มี5 ประการ คือ ประการที่หนึ่งการเคลื่อนที่ตามลำดับขั้น (Conjunet Motion) ในช่วงที่จะมีการเปลี่ยนเครื่องหมายตั้งบันไดเสียง (Key Signature Modulation) จะอาศัยการเคลื่อนที่ตามลำดับขั้นไปในทิศทางขึ้น หรือลงเพื่อหาเครื่องหมายตั้งบันไดเสียงใหม่ ประการที่สองการ กระโดดข้ามขั้น (Disjunet Motion)จะนำมาใช้ต่อจากการเคลื่อนที่ ตามลำดับขั้น เพื่อไม่ให้เกิดทำนองที่น่าเบื่อในการประพันธ์จะใช้ สลับกัน ประการที่สามการสะบัดนิ้ว (Appossiatura) การไล่เสียง โน้ตระดับเสียงต่ำไปหาโน้ตที่มีระดับเสียงสูง หรือไล่เสียงโน้ตจาก ระดับเสียงสูงไปหาโน้ตที่มีระดับเสียงต่ำ ด้วยความรวดเร็ว และ สามารถลงเสียงหลักได้ตรงตามจังหวะที่กำหนดไว้ ซึ่งในการสะบัด นิ้วนี้สะบัดได้ตั้งแต่โน้ต 1 ตัวขึ้นไป ประการที่สี่การพรมนิ้ว (Trill) หรืออีกนัยหนึ่งคือการรัวนิ้ว ให้เล่นโน้ต 2 ตัวสลับกันซึ่งผู้ประพันธ์ ได้บังคับไว้ให้เล่นตามที่ผู้ประพันธ์ได้กำหนด เพื่อให้ได้อรรธรสใน การรับฟังเพลงตามเจตนามุ่งหมายของผู้ประพันธ์ ประการที่ห้า การระบายลม (Circular Breathing) เป็นเทคนิคขั้นสูงที่ผู้บรรเลง แซกโซโฟนจำเป็นจะต้องเรียนรู้และฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ จะต้องฝึกบังคับริมฝีปากล่างเพื่อบังคับลิ้นของแซกโซโฟนให้อยู่ใน ระดับที่รับแรงอัดได้ดีในขณะที่เป ่าลมใกล้หมด ให้นำลมไปไว้ที่ กระพุ้งแก้มเมื่อถึงจังหวะที่ต้องหายใจเข้า ให้นำลมในกระพุ้งแก้ม มาใช้โดยการบีบแก้มทั้งสองข้างพร้อมกับหายใจเข้าอย่างรวดเร็ว

          3. ความสัมพันธ์ของทางแซ็กโซโฟนเพลงสารถี3 ชั้น กับ ทางฆ้องวงใหญ่

                 ด้านความสัมพันธ์ของทางแซ็กโซโฟนเพลงสารถี3 ชั้น กับทางฆ้องวงใหญ่ ในท่อนที่ 1 มีอยู่ใน 3 บันไดเสียงคือ โด ฟา และ ทีซึ่งแซ็กโซโฟนและฆ้องวงใหญ ่ลงลูกตกเสียงเดียวกัน 6 เสียงคือ โด เร ฟา ซอล ลา ทีส่วนทำนองท่อนที่ 2 และ 3 มีอยู่ ใน 2 บันไดเสียงคือ บันไดเสียง โด และ ฟา ซึ่งแซ็กโซโฟนและ ฆ้องวงใหญ่ลงลูกตกเสียงเดียวกัน 6 เสียงคือ โด เร มีฟา ซอล ลา

 

สรุปและอภิปรายผล

          จากการศึกษาวิจัยแสดงให้เห็นว่าครูสมาน รักจันทร์เป็นผู้ มีความสามารถในการบรรเลงและประพันธ์เพลงไทยด้วยเครื่อง ดนตรีสากล จากความสามารถที่โดดเด่นทำให้ได้มีโอกาสสร้างผล งานการการคิดทำนองเพลงเดี่ยวและการเรียบเรียงเสียงประสาน ทั้งเพลงไทยเดิมที่บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีสากลและเพลงลูกทุ่ง หรือเพลงสากลแนวต่างๆ อีกมากมาย จนทำให้ได้รับการยอมรับ ในสังคม ซึ่งผู้ศึกษาวิจัยได้คัดเลือกบทเพลงที่สำคัญที่ได้รับรางวัล ชนะเลิศเหรียญทองระดับประเทศ คือเพลง เดี่ยวแซ็กโซโฟนเพลง สารถี3 ชั้น

          มีเทคนิควิธีการบรรเลงซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน คือ การใช้เทคนิคการระบายลงบังคับควบคุมลมหายใจ เช่น การแบ่ง วรรคลมหายใจ สอดคล้องกับเทคนิควิธีขับร้องเพลงของ ดุษฎี พนมยงค์จากหนังสือ “สานฝันด้วยเสียงเพลง” ของดุษฎีพนมยงค์ (2539) การเคลื่อนที่ตามลำดับขั้น (Conjunet Motion) ในช่วง ที่จะมีการเปลี่ยนเครื่องหมายตั้งบันไดเสียง (Key Signature Modulation) จะอาศัยการเคลื่อนที่ตามลำดับขั้น ไปในทิศทาง ขึ้นหรือลงเพื่อหาเครื่องหมายตั้งบันไดเสียงใหม่ ประการที่สองคือ การกระโดดข้ามขั้น (Disjunet Motion) จะนำมาใช้ต่อจากการ เคลื่อนที่ตามลำดับขั้น เพื่อไม่ให้เกิดทำนองที่น่าเบื่อ ซึ่งสอดคล้อง กับถาวร ศรีผ่อง การวิเคราะห์ทางฆ้องวงใหญ่. ปริญญานิพนธ์ ศศ.ม. กล่าวว่าลักษณะสำนวนกลอนที่สัมผัสกันดีเป็นที่นิยมนำ มาใช้บรรเลงของผู้บรรเลงระนาดเอกในปัจจุบัน เช่น กลอนไต่ลวด กลอนลอดตาข่าย กลอนย้อนตะเข็บ ถาวร ศรีผ่อง (2530 : 115) จังหวะทำนองของเพลงเดี่ยวสารถี3 ชั้นทางอัลโต้แซกโซโฟน ส่วนใหญ่จะเป็นไปตามรูปแบบเทคนิคของเครื่องดนตรีประเภทอัลโต้ แซกโซโฟน จะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามรูปแบบของการบรรเลงหรือ ลูกเล่นเม็ดพราย (Ornament) ของทำนองหลัก (Motif) ซึ่ง สอดคล้องกับ มานพ วิสุทธิแพทย์ดนตรีไทยวิเคราะห์. ในที่ระลึก งานดนตรีไทยอุดมศึกษาครั้งที่ 22 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ได้ให้ทัศนะถึงวรรคเพลงว่า วรรคเพลง คือการแบ่งทำนองเพลง ออกเป็นส่วนๆในการแบ่งวรรคยึดถือ“ทำนองเพลง”เป็นหลักการ แบ่งทำนองเพลง ทำนองหนึ่งๆ นั้นสามารถแบ่งได้เป็นยาวหรือส่วน สั้นๆ ซึ่งจะได้ความหมายและความสมบูรณ์แตกต่างกัน การแบ่ง ทำนองเพลงจึงไม่ควรแบ่งให้เล็กหรือสั้นจนไม่ได้ความหมาย มานพ วิสุทธิแพทย์(2533 : 27) เพลงเดี่ยวสารถี3 ชั้นทางอัลโต้แซกโซโฟน แบ่งออกเป็นท่อนเพลงจำนวน 3 ท่อนเพลงแต่จะเล่นท่อนละ2เที่ยว ซึ่งแบ่งได้ดังนี้ || A1 || A2 || B1 || B2 || C1 || C2 || ซึ่งสอดคล้องกับ ณรุทธ์ สุทธจิตย์สังคีตนิยม. ได้ให้ความหมายของ Form ว่า หมายถึงรูปแบบการแต ่งเพลง ดนตรีมีลักษณะเช่นเดียวกับ ศิลปะแขนงอื่น คือมีการนำเสนออย่างมีแบบแผน มีโครงสร้าง ที่สามารถศึกษาหรือทำความเข้าใจได้ซึ่งเป็นองค์ประกอบของดนตรีที่สำคัญมากอย่างหนึ่งรูปแบบของเพลงมีหลายลักษณะ เกิดจากการสร้างสรรค์โดยการนำองค์ประกอบโครงสร้างของ รูปแบบมาเป็นตัวกำหนด โดยทั่วไปนั้นเพลงสมัยนิยมมักใช้รูปแบบ ทวิบท (Binary Form) คือ มีจำนวนท่อนที่แตกต่างกันเพียง 2 ท่อน เพราะต้องการให้ง่ายต่อการจดจำ ณรุทธ์ สุทธจิตย์ (2535 : 47)

          สรุปได้ว่าในการศึกษาวิจัยเพลงเดี่ยวสารถี3 ชั้นทางอัลโต้ แซ็กโซโฟนของ ครูสมาน รักจันทร์ได้พบเทคนิควิธีในการบรรเลง เพลงไทยด้วยเครื่องดนตรีสากล นั้นเป็นเทคนิควิธีการบรรเลงที่เป็น มาตรฐานสามารถนำมาเป็นแบบอย่างในการฝึกบรรเลงเพลงไทย ด้วยเครื่องดนตรีสากลได้เป็นอย่างดี

 

เอกสารอ้างอิง

กาญจนา อินทรสุนานนท์.2532.การวิเคราะห์รูปแบบเพลงพื้นบ้าน. มนุษยศาสตร์ปริทัศน์.

จำนง รังสิกุล. 2517. สนทนาพาที. กรุงเทพฯ: แพร่พิทยา.

ณรุตญ์ สุทธจิตต์. 2535. สังคีตนิยม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดุษฎี พนมยงค์. 2539. สานฝันด้วยเสียงเพลง : มาฝึกร้องเพลง กันเถิด. พิมพ์ครั้งที่2ฉบับปรับปรุง.กรุงเทพฯ: บ้านเพลง.

ถาวร ศรีผ่อง. 2530. เพลงช้าเรื่องเพลงยาว: การวิเคราะห์ทาง ฆ้องวงใหญ่. ปริญญานิพนธ์ มานุษยดุริยางควิทยา. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บันเทิง ชลช่วยชีพ.2539.สังคีตนิยม.ฝ่ายเอกสารสถาบันราชภัฎ ดนตรีสากลเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ปัญญา รุ่งเรือง. 2521. ประวัติดนตรีไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

มานพ วิสุทธิแพทย์. 2533. ดนตรีไทยวิเคราะห์. ในที่ระลึก งานดนตรีไทยอุดมศึกษาครั้งที่ 22 มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์.

วิภา คงคากุล.2537. ความสำคัญของดนตรีต่อสังคม. ถนนดนตรี1

สงัด ภูเขาทอง. 2532. การดนตรีไทยและการเข้าสู่ดนตรีไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์.

สุกรี เจริญสุข. 2533. แนววิเคราะห์เพลงพื้นบ้านกับเพลงลูกทุ่ง ในเส้นทางเพลงลูกทุ่งไทย.กรุงเทพฯ:สำนักงานวัฒนธรรม แห่งชาติ.