สุดยอด อาจารย์แซกโซโฟน ของประเทศไทย อ.วิศุวัฒน์ พฤกษวานิช

สุดยอด อาจารย์แซกโซโฟน ของประเทศไทย  อ.วิศุวัฒน์ พฤกษวานิช และ นักแซกโซโฟนอันดับต้นของประเทศ

“...ความละเอียดอ่อน ความลุ่มลึก ตลอดจนการถ่ายทอดผลงานอันหมดจด เป็นแรงดึงดูดที่ผมรู้สึกได้ยังไม่นับรวมทักษะทางดนตรีชั้นยอด  ซึ่งนับเป็นภาษาดนตรีอันท้าทายต่อการประพันธ์ผลงานเพลงร่วมสมัย...”

          วิศุวัฒน์ พฤกษวานิช เปิดตัวผลงานอัลบั้มแรก Hard Fairy เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2555 พร้อมรับคำวิจารณ์จากเจมส์ เจ อ็อกเบิร์น (James J. Ogburn) หัวหน้าภาควิชาการประพันธ์ดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

          นักแซกโซโฟนคลาสสิกร่วมสมัยคนไทยคนแรกในสังกัดศิลปินยามาฮ่า ทั้งยังเป็นที่จดจำบ เวทีระดับโลก ในฐานะโซโลอิสต์ให้กับวงดุริยางค์ฟีลอาร์โมนิกแห่งประเทศไทย (Thailand Philharmonic Orchestra หรือ TPO) แสดงผลงานเวิลด์พรีเมียร์ของนักประพันธ์เจ้าของรางวัล ศิลปาธร ณรงค์ ปรางค์เจริญ รุ่งอรุณแห่งความมืดมิด ที่คอนเสิร์ต Kizuna 2012 ณ ไทรโฟนีฮอลล์ ประเทศญี่ปุ่น

นอกจากนี้ วิศุวัฒน์ ในฐานะสมาชิกของ Siam Saxophone Quartet ยังเดินทางไปแสดงศักยภาพทางดนตรีที่งานประชุมแซกโซโฟนระดับโลกประจำปี 2555 ครั้งที่ 16 ณ เมืองเซนส์แอนดรูส์ ประเทศสก็อตแลนด์ โดยเป็นการแสดงผลงานเวิลด์พรีเมียร์ของโรเบิร์ต เลอเมย์ (Robert Lemay) ในบทเพลง Ligne(s) médiane(s) และผลงานเวิลด์พรีเมียร์ของ เจมส์ เจ อ็อกเบิร์น บทเพลง Gliese 581g

          วิศุวัฒน์เกิดปี พ.ศ. 2528 ใช้ชีวิตวัยเด็กที่หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เริ่มเล่นแซกโซโฟนตอนอายุ 10 ปี ในฐานะสมาชิกวงโยธวาทิต โรงเรียนแสงทองวิทยา จากนั้นย้ายมาศึกษาหลักสูตรเตรียมอุดมดนตรี ที่วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล จนจบการศึกษาระดับบัณฑิตและมหาบัณฑิตด้านการแสดงดนตรี โดยร่ำเรียนกับเชน ลี (Shyen Lee) อาจารย์ชาวไต้หวันผู้เป็นแรงบันดาลใจ

          ตลอดหลายปีที่ผ่านมา วิศุวัฒน์เข้าร่วมเวิร์คช็อปและมาสเตอร์คลาสกับศิลปินที่มีชื่อเสียงหลายท่านอย่าง ฌอง-มารี ลอนดิกซ์ (Jean-Marie Londeix) จอห์น แซมเปน (John Sampen) โรเจอร์ กรีนเบิร์ก (Roger Greenberg)

โคล้ด เดอแลง (Claude Delangle) ฌอง ปีแอร์บารากริลลี  (Jean-Pierre Baraglioli) เฉียน-กวาน หลิน (Chien-Kwan Lin) ริชาร์ด เดอแลม (Richard Dirlam) วิลเลียม สตรีท (William Street) เคจิ มุเนซาดะ (Keiji Munesada) โจเซฟ ลูลอฟฟ์ (Joseph Luloff) เฟดเดอริโก มองเดลซี (Federico Mondelci) เอริค เนสเลอร์ (Eric Nestler) ยูจีน รอสโซ (Eugene Rousseau) หยาง ตง (Yang Tong)  ฌอง อีฟ โฟมัวร์ (Jean Yves Formeau) วินส์ กโนเจก (Vince Gnojek) ริชาร์ด ดูครอส (Richard Ducros) และจอห์น เมียง (John Myung)

          ด้วยเทคนิคการเล่นแม่นยำและสำเนียงอันโดดเด่น คริสเตียน เลาบา (Christian Lauba) นักประพันธ์ชาวฝรั่งเศส ซึ่งบังเอิญได้ดูคลิปที่วิศุวัฒน์แสดงในเพลง Hard Too Hard ถึงกับเอ่ยปากเชิญเขาไปร่วมมาสเตอร์คลาสที่เมืองลิสบอน ประเทศโปรตุเกส

          วิศุวัฒน์ได้รับรางวัลจากการแข่งขันทั้งในประเทศและระดับนานาชาติจากการประกวด Asian Symphonic Band Competition ครั้งที่ 9 การแข่งขัน Osaka International Music Competition ครั้งที่ 8 และ Thailand Yamaha Big-Band Competition ปี 2543 และในปี 2557ที่ผ่านมาผลงานอัลบั้ม "Hard Fairy" ได้เข้าชิงรางวัล คม ชัด ลึก อวอร์ด 2 สาขาได้แก่ เพลงบรรเลงยอดเยี่ยมและศิลปืนหน้าใหม่

          ปัจจุบันเขาเป็นนักศึกษาปริญญาเอก ณ Academy of Music in Krakow, Poland กับอาจารย์ Andrzej Rzymkowski อีกทั้งเป็นอาจารย์สอนแซกโซโฟนที่วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล และเป็นสมาชิกวง Cloud Wanderer และ Bun-Leng Project ip, และยังได้แต่งตำราสำหรับแซกโซโฟน เอาไว้ด้วย

 

Wisuwat Pruksavanich’s Hard Fairy released on November 2012. Performing magnificently to explore every possible sound of the saxophone, he received high acclaim by James J. Ogburn, Once Chair of Music Composition and Theory Department at Mahidol University’s College of Music:

“…His sensitivity, comprehension, and the indisputable mastery of his execution captivate me, not to mention his technical prowess in the challenging musical language of contemporary composition..."

     Wisuwat Pruksavanich is the first Thai saxophonist in contemporary classical music to become a Yamaha Artist. He has made his name on the world stages as soloist in Narong Prangcharoen’s world premiere “The Dawn of Darkness” at Ki Zu Na Concert 2012, Sumida Triphony Hall, Tokyo Japan. As a member of Siam Saxophone Quartet, he performed world premieres, Robert Lemay’s Ligne(s) médiane(s) and James J. Ogburn’s Gliese 581g at the 16th World Saxophone Congress 2012, St Andrews Scotland.

     Born in Thailand in 1985, Wisuwat grew up in Hatyai, Songkhla and began saxophone practice in Saengthong Vitthaya School Marching Band at the age of ten. The passion for contemporary classical saxophone music led Wisuwat to move from Hatyai to the College of Music, Mahidol University where he met his inspirational professor, Mr Shyen Lee, for pre-college, undergraduate and graduate programs.

     Over the years, Wisuwat attended master-classes and workshops with world-famous artists such as Jean-Marie Londeix, John Sampen, Roger Greenberg, Claude Delangle, Jean-Pierre Baraglioli, Chien-Kwan Lin, Richard Dirlam, William Street, Keiji Munesada, Joseph Luloff, Federico Mondelci, Eric Nestler, Eugene Rousseau, Yang, Jean Yves Fourmeau, Vince Gnojek, Richard Ducros, Christian Lauba and John Myung.

     Christian Lauba, a French composer, while randomly watching youtube came upon a video performed by Wisuwat — Hard too Hard, one of Christian’s toughest compositions. He invited Wisuwat to join his master class in Lisbon, Portugal.

     Wisuwat also obtained several prizes at national and international level in Saxophone related music competitions: 1st Prize from 9th Asian Symphonic Band Competition 2007, 1st Prize, Thailand Yamaha Big-Band Competition 2000, 2nd Prize, from 8th Osaka International Music Competition Osaka Japan 2007 and so on. Recently the Hard Fairy album was nominated for Best Instrumental Album and Wisuwat himself was nominated for Best New Artist at the 11th Komchadluek Awards.

     Today, Wisuwat is a doctoral student at the Academy of Music in Krakow, Poland with Professor Andrzej Rzymkowski. Moreover, a saxophone instructor at Mahidol University’s College of Music and a saxophonist in Cloud Wanderer, Bun-Leng Project.

 

Translated by Rattiya Kanchanapinyokul