" มิ้นท์ ภาสกร " สุดยอดนักแซกโซโฟนแนวหน้าของเมืองไทย

" มิ้นท์ ภาสกร " สุดยอดนักแซกโซโฟนแนวหน้าของเมืองไทย

มือแซกโซโฟนเจ้าของรางวัล คมชัดลึก และ สีสัน อวอร์ด  เป็นนักดนตรีแจ๊สที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ

ภาสกร โมระศิลปิน เกิดในปี 2529 เริ่มเล่นแซกโซโฟนเมื่ออายุ 13 ปี เขาเริ่มอาชีพนักดนตรีเมื่ออายุ 15 ปีเมื่อเขาเริ่มแสดงที่คลับแจ๊สชื่อดังหลายแห่งในกรุงเทพรวมถึงบราวน์ชูการ์และแซกโซโฟนผับ เขาเรียนแซกโซโฟนคลาสสิคที่วิทยาลัยดุริยางคศิลป์มหาวิทยาลัยมหิดลและได้รับปริญญาตรีสาขาวิชาดนตรีแจ๊สจากมหาวิทยาลัยศิลปากรด้วยทุนการศึกษาเต็มรูปแบบ

เขาได้ศึกษากับนักดนตรีไทยและนักดนตรีต่างประเทศชั้นนำ ได้แก่ นิโคลัส ลาเฟลอร์,โก้มิสเตอร์ แซกแมน,โรเจอร์ กรีนเบิร์ก,ชูอิชิ โคมิยะมะปิซึต,ประทีป พาเซียน,จาคอบ ดินซิน และ โทนี่ ลาโทส

เขาได้ทำงานร่วมกับศิลปินไทยหลายคนในฐานะนักดนตรีและนักดนตรีในสตูดิโอและยังได้ร่วมงานกับศิลปินต่างประเทศหลายคนเช่น Inger Marie, Lewis Pragasam, Simone Kopmajer, Ulf Wakenius, Malene Mortensen, Mokhtar Samba และ John Di Martino เขาแสดงทั่วโลกรวมถึงในสหรัฐอเมริกา,ญี่ปุ่น,อินเดีย,อินโดนีเซีย,มาเลเซียมาเก๊า,ไต้หวันและจีน

เขาได้รับรางวัลหลายรางวัลในช่วงหลายปีที่ผ่านมา:

ในปี 2548 เขาได้รับรางวัลรองชนะเลิศประเภทนักดนตรีดีเด่นในการแข่งขันดนตรีแจ๊สไทยครั้งแรก

ในปี 2549 และ 2550 เขาได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ในประเภทนี้

ในปี 2550 เขาเป็นศิลปินเดี่ยวที่มีวงดนตรีแจ๊สฟิวชั่นในประเทศไทย“ The Infinity” - วงดนตรีแจ๊สแห่งแรกในประเทศไทย

ในปี 2009 เขาเป็นหนึ่งในสามคนสุดท้ายของการแข่งขันดนตรีแจ๊สนานาชาติแห่งประเทศไทยครั้งที่ 1

ในปี 2010 เขาแสดงในอัลบั้ม“ The Infinity 10 และ Jazz Corners All Stars บ็อบเจมส์”

ในปี 2554 เขาได้รับตำแหน่งแซ็กโซโฟนของยามาฮ่าประเทศไทย

ในปี 2013 เขาเป็นหนึ่งใน 10 คนที่เข้ารอบสุดท้ายในการแข่งขัน Cotai Jazz & Blues

จนถึงปัจจุบันเขาได้ออกอัลบั้มสามในฐานะหัวหน้าวง อัลบั้มเปิดตัวของเขาในปี 2556“ My Diary” ได้รับแรงบันดาลใจจากอดีตของเขาและนำเสนอการวางแนวของเครื่องดนตรีไทยและสไตล์ของเขาที่เลียนแบบไม่ได้ อัลบั้มนี้ได้รับรางวัลอัลบั้มยอดเยี่ยมในงาน Komchadluek Awards # 11 ซึ่ง Passakorn ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงในฐานะศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม

ในปี 2014 เขาออกอัลบั้มที่สองของเขา“ The Diary II: Tears Hope Sea Starlight (อุทิศตนเพื่อการจลาจลภาคใต้ของประเทศไทย)” เขาได้รับรางวัลยอดเยี่ยมยอดเยี่ยมประจำฤดูกาลที่ 26 ในปี 2013 และ 2014

ในปี 2014 เขาได้รับอันดับที่ 3 ในการแข่งขัน Taichung Saxophone # 3

ในปี 2559 เขาออกอัลบั้มที่สามของเขา“ Foliage Diary III: จาก The Veins of The Leaf” เขาได้รับรางวัลยอดเยี่ยมประจำฤดูกาลที่ 28 ในปี 2559

รอบชิงชนะเลิศ Made In New York Jazz Compettition 2018

Biography

 

Born in 1986, Passakorn Morasilpin started playing saxophone at 13 years of age. He began his music career at the age of 15 when he started performing at a number of well-known jazz clubs in Bangkok including Brown Sugar and Saxophone Pub. He studied Classical Saxophone at the College of Music, Mahidol University and received a Bachelor Degree in Jazz Studies from The Silpakorn University with a full scholarship.

He has studied with top Thai and international musicians including Nicholas LaFleur, Koh Mr. Saxman, Roger Greenberg, Shuichi Komiyama, Pisut Pratheepasean, Jakob Dinesen and Tony Lakatos.

He has worked with many Thai artists as a sideman and studio musician and also played with many respected international artists including Inger Marie, Lewis Pragasam, Simone Kopmajer, Ulf Wakenius, Malene Mortensen, Mokhtar Samba and John Di Martino. He has performed around the world including in the United States, Japan, India, Indonesia, Malaysia, Macau, Taiwan and China.

He has received multiple awards over the years:

In 2005, he received the 2nd Place award in the category of Outstanding Musician in the first-ever Thailand Jazz Competition.

In 2006 and 2007, he received the 1st Place award in this category.

In 2007, he was a featured soloist with legendary Thailand fusion jazz band “The Infinity” - the first fusion jazz band in Thailand.

In 2009, he is one of three finalists in the Thailand International Jazz Conference Solo Competition #1.

In 2010, he performed on the album “The Infinity 10 and Jazz Corners All Stars feat. Bob James”.

In 2011, he became Yamaha Thailand's saxophone endorser.

In 2013, he is one of 10 Finalist in Cotai Jazz & Blues Competition.

To date, he has released three albums as a band leader. His debut album in 2013, “My Diary”, was inspired by his past and features a juxtaposition of Thai traditional instruments and his own inimitable style. This album won the Best Instrumental album in the Komchadluek Awards #11 in which Passakorn was also nominated as the Best New Artist.

In 2014, he released his second album “The Diary II : Tears Hope Sea Starlight (Dedicated To South Thailand Insurgency)”. He received the Best Instrumental on Season Awards # 26 in 2013 & 2014.

In 2014, he received the 3rd place in the Taichung Saxophone Competition #3.

In 2016, he released his third album “Foliage Diary III : From The Veins of The Leaf”. He received the Best Instrumental on Season Awards # 28 in 2016.

Finalist Made In New York Jazz Compettition 2018

มินท์ “ภาสกร โมระศิลปิน “ อาจจะเป็นชื่อใหม่ในสายตาของผู้คนภายนอก แต่ในแวดวงแจ๊ส ต่างรู้จักเขามานานพอสมควร ในฐานะดาวรุ่งแซกโซโฟนที่ฉายแววความโดดเด่นในชั้นเชิงทางดนตรี ตั้งแต่ปีแรกๆ ที่เขาเข้าศึกษาที่คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรเลยด้วยซ้ำ

ผ่านเวทีประกวดและคว้ารางวัลมาบ่อยครั้ง หลังจากฝึกฝนวิทยายุทธ ร่ายลำนำสำเนียงบ็อพอันเป็นภาษาบังคับของแจ๊สร่วมสมัยแล้ว เมื่อก้าวออกสู่ยุทธจักรภายนอกรั้วสถาบัน มินท์ ไปเก็บเกี่ยวประสบการณ์ในฐานะมือแซกประจำวง “อินฟินิตี้” อยู่หลายปี เช่นเดียวกันกับการขอเรียน “มาสเตอร์คลาส” กับจอมยุทธทั้งหลาย ทั้งไทยและต่างประเทศ

วันดีคืนดี เมื่อทุกอย่างพร้อม มินท์ กับเพื่อนๆ ก็ตัดสินใจเดินเข้าห้องอัด เพื่อทำงานเดี่ยวชุดแรกในชีวิตจนคลี่คลายออกมาเป็นผลสำเร็จ นับเป็นเรื่องน่าภาคภูมิใจกับความมานะพยายามของนักดนตรีหนุ่มคนนี้ นับจากวันที่เขาตัดสินใจก้าวสู่เส้นทางสายดนตรี

นอกจาก มินท์ ในตำแหน่งโซปราโนและเทเนอร์ แซกโซโฟน แล้ว นักดนตรีในวงล้วนเป็นศิษย์เก่าของคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ไม่ว่าจะเป็น ซอล สร้างสรรค์ วัฒนกุล มือเปียโน , อัฐ วารินทร์ ถาธัญ มือเบส และ สำลี สถิตพร สมพงษ์ มือกลอง โดยมี แนท บัณฑิตา ประชามอญ ศิษย์เก่าจากวิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต ที่มาฝากเสียงร้องอันไพเราะไว้ 2 เพลงด้วยกัน

ในอัลบั้ม My Diary บรรจุเพลงไว้ 7 แทร็คด้วยกัน เปิดและปิดท้ายด้วยเพลง Slide อันเป็นบทประพันธ์ของ มินท์ เอง เช่นเดียวกับบทเพลงอื่นๆ ที่มินท์ ฝากฝีมือการแต่งเพลงไว้ ยกเว้น One Note Samba จากปลายปากกาของ อันโตนิโอ คาร์ลอส โจบิม, Time in the Bottle เพลงเก่าของ จิม โครเซ และเพลง นกขมิ้น ของครูพยงค์ มุกดา ที่เขานำมาเรียบเรียงใหม่ ใส่ลายเซ็นต์ของตัวเองเอาไว้อย่างชัดแจ้ง

เปิดตัวด้วย Slide ที่ขับเคลื่อนอย่างเต็มด้วยพลังและความมั่นใจ เริ่มตั้งแต่โมทิฟแรกที่แซ็กนำเสนอ ก่อนจะปล่อยให้ภาคดนตรีสื่อสารสนทนากันอย่างออกรส ทั้งเบส คีย์บอร์ด และกลอง ที่รุกรับกันอย่างเข้าขาและแม่นยำในทิศทาง ถือเป็นเพลงที่ให้พื้นที่อย่างเพียงพอแก่ “ภาคคีตปฏิภาณ” โดยนักดนตรีมีเสรีภาพอย่างเต็มที่ ในการ “ปล่อยไอเดีย” อันพร่างพรูออกมา โดยเฉพาะอิมโพรไวเซชั่นของ มินท์ ที่ทั้งกรู้ฟในชีพจร และรักษาเมโลดิกไลน์ในเวลาเดียวกัน

ราวกับรับรู้ถึงสภาพเต็มอิ่มอย่างถึงขีดสุดของจังหวะเพลงบอสซา โนวา ที่ท่วมท้นสังคมไทยมาช้านาน มินท์ เลือกเพลง One Note Samba มาปรับใหม่ โดยยังคงรักษาไอเดียในการเปลี่ยนเฉดสีสันของคอร์ดผ่านโน้ตตัวเดียวกันตามที่ โจบิม ทำไว้ แต่ปรับกรู้ฟและบรรยากาศรวมของเพลงเสียใหม่ ให้ลงดิ่งลึกลงราวกับการเดินทางในความฝันและจิตใต้สำนึก ไฮไลท์ของเพลงนี้คือช่วงดูเอ็ทระหว่างแซกฉบับเซอร์กับเบสฉบับหลอน ที่เลื่อนไหลไปอย่างไร้ที่ติจริงๆ

เช่นเดียวกับกรณีของ Time in the Bottle มินท์ เลือกจะตีความให้แตกต่างจาก “ออริจินัล เวอร์ชั่น” โดยจัดวรรคตอนของเพลงใหม่ให้สอดรับกับไอเดียในแนวทางแจ๊สร่วมสมัยของเขา โดย ซอล ฝากไลน์โซโลอันงดงามไว้ เช่นเดียวกันกับเสียงร้องของ แนท ที่ทิ้งท้ายอย่างน่าประทับใจ

หาก Slide เผยให้เห็นพลังในการขับเคลื่อนเพลง คงต้องบอกว่า The Shadow in the Darkness ยิ่งปะทุความร้อนแรงท่ามกลางความมืดมิดก็ว่าได้ เริ่มตั้งแต่ โมทิฟ และเฮดของเพลง จนถึงช่วงอัพเทมโป เมื่อเบสวอล์คด้วยความเร็วปานกามนิต ไลน์แซกของ มินท์ ตามเพื่อนไปติดๆ เช่นเดียวกันกับการควบฉาบและกลองของสำลี ที่ซัพพอร์ททุกคนไว้ โดยมีกรอบทางเดินคอร์ดจากปลายนิ้วที่ ซอล วางทิศทางไว้อย่างเหนียวแน่น ถือเป็นมาสเตอร์พีซของอัลบั้มนี้อย่างยากปฏิเสธ

ทุกอย่างแปรเปลี่ยนไปสู่อีกบรรยากาศหนึ่งใน Nok Khamin ที่ให้ความรู้สึกเวิ้งว้างอยู่ในที สำเนียงโซปราโนของมินท์ พาเราไปสัมผัสตัวตนอีกด้านของนักแซ็กคนนี้ ที่สะท้อนถึง “ดีเอ็นเอความเป็นไทย” อย่างเต็มเปี่ยม โดยมีน้ำเสียงของ แนท บัณฑิตา นักร้องแจ๊สรุ่นใหม่ที่น่าจับตา ทว่าในเพลงนี้ เธอเลือกจะถ่ายทอดในแบบฉบับของการเอื้อนเสียงที่บ่งบอกถึงอิทธิพลของเพลงไทย(เดิม)ในสายเลือด

ซอล เดี่ยวเปียโนเข้าสู่เพลง Sandglass ก่อนจะเปิดทางให้ มินท์ บรรเลงบทเพลงบัลลาดผ่านเสียงเทเนอร์แซ็กของเขา จนถึงช่วงเบสและกลองเข้าสู่การผสมวง เสียงสแนร์ในเพลงนี้อาจจะฟังดู “อาร์ติฟิเชียล” และไม่เป็นธรรมชาติไปสักหน่อย แต่โดยภาพรวม จัดเป็นอีกหนึ่งเพลงที่น่าจะโดนใจคนฟังหมู่มาก ด้วยแนวทำนองที่คุ้นหูและไม่สลับซับซ้อนจนเกินไป

My Diary ของ มินท์ ภาสกร โมระศิลปิน นับเป็นตัวอย่างชั้นดีของงานเพลงคุณภาพที่ให้ความหวังแก่มิตรรักนักเพลงทุกคนว่า สังคมไทยมิได้อับจนคนเก่งคนดีเสมอไป และผมเชื่อมั่นว่า หลังจาก มินท์ ภาสกร แล้ว ยังมีกองทัพนักดนตรีแจ๊สรุ่นใหม่ที่จะทยอยสร้างงานเพลงออกมาให้พวกเราได้ชื่นชมกันอย่างต่อเนื่อง

ปัจจุบัน มินท์ ได้มีอัลบั้ม Diary ll ,Diary lll

เตรียมตัวเตรียมใจ ให้การสนับสนุนกันได้เลยครับ