การฝึกเล่นSaxophone
การฝึกเล่นSaxophone
การฝึกเล่น saxophone นั้นไม่ยากและไม่ง่ายจนเกินไป วันนี้เรามาลองทำความเข้าใจกันว่าการฝึกเป่า saxophone อย่างถูกวิธีนั้นเป็นอย่างไร
พื้นฐานการเป่าแซ็กโซโฟนเบื้องต้น
Tone (โทน)
ในที่นี้ขอเรียกการออกเสียงจากแซ็กโซโฟนโดยรวมว่า Tone ซึ่งมีรายละเอียดปลีกย่อยดังจะได้กล่าวต่อ ไป
The saxophone sonority หรือที่เรียกว่าความก้องกังวาลของเสียงที่เราเป่าออกมา ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง และต้องอาศัยเวลาในการฝึกฝนพัฒนาเพื่อให้ได้เสียงที่ต้องการ เปรียบเสมือนนักกีฬาที่ต้องหมั่นฟิตซ้อมร่างกายอย่างสม่ำเสมอ สิ่งสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อเสียงที่เราเป่าออกมาก็คือ Tone, Embouchure, Air, Dynamics และ Intonation
Tone ในที่นี้หมายถึงเสียงที่เปล่งออกมาจากแซ็กโซโฟน (ไม่ได้หมายถึงการออกเสียงโดยรวมอย่างหัวข้อที่เอ่ยไว้ข้าง บน)
Embouchure คือลักษณะของรูปปากที่เราใช้รวมถึงลักษณะภายในช่องปากในขณะที่ เราเป่าแซกโซโฟน
Air หมายถึงลักษณะการใช้ลม การหายใจ เข้า-ออก ขณะที่เป่าแซกโซโฟน
Dynamics คือความ ดัง-เบา ของเสียงที่เราเล่น
Intonation คือการออกเสียง หากเปรียบกับเวลาที่เราพูด ก็คงเหมือนการออกเสียงพยัญชนะและสระต่างๆ มีผลเปรียบเสมือนคนพูดชัดหรือไม่ชัด นั่นเอง
The saxophone tone
ในการฝึกขั้นแรก ผู้เล่นควรเริ่มจากการฝึกเป่าเสียงที่เรียบ และหนักแน่น เปรียบเสมือนเส้นตรง (Straight Tone) เมื่อฝึกออกเสียงให้ราบเรียบเป็นเส้นตรงได้แล้วจะช่วยให้พัฒนาการควบคุม dynamics และ intonation เป็นไปได้ง่ายยิ่งขึ้น
ในการจะฝึก straight tone ผู้เล่นควรคำนึงถึงการใช้ embouchure ที่ดีและการความคุมกระแสลมที่ใช้ในการเป่า (air stream)
Embouchure
การใช้ embouchure ที่ดีจะช่วยให้เสียง มี projection ที่ดี (projection หรือการ project เสียง คือการกำหนดจุดเป้าหมายที่ต้องการให้ผู้ฟังได้ยินเสียงเราชัดเจน) ดังที่มีคำกล่าวว่า “คุณต้องเล่นให้เสียงดังไปถึงผู้ฟังที่นั่งอยู่แถวหลังสุด แม้ขณะที่คุณกำลังเล่นเสียงที่เบาที่สุดอยู่ก็ตาม” บางคนอาจจะสงสัยว่าก็เล่นเสียงเบาที่สุดอยู่แล้วมันจะดังไปถึงผู้ชมแถวหลัง สุดได้อย่างไร อันนี้เวปมาสเตอร์ก็จนปัญญาจะอธิบายครับ คงได้แต่บอกให้ไปลองเอง โดยอาจจะให้เพื่อนช่วยฟังโดยยืนทิ้งระยะห่างต่างๆกัน หรือให้เพื่อนเป่า แล้วเราลองไปยืนที่ระยะห่างต่างๆกัน โดยให้ผู้เล่นเป่าเสียงที่เบา แต่คิดอยู่ในใจว่า เพื่อนเราที่ยืนอยู่อีกฝั่งต้องได้ยิน แล้วจะเข้าใจขึ้นมาเอง ว่าการโปรเจคเสียงนั้น เป็นอย่างไรโดยยึดตามคอนเสปที่กล่าวไปข้าง ต้น
การใช้รูปปากที่เรียกกันว่า Round Embouchure จะช่วยให้สามารถโปรเจคเสียงได้อย่างที่กล่าวไปข้างต้น โดยเวลาเป่านั้นให้ห่อริมฝีปากเป็นรูปตัววงกลม การทำดังนี้จะช่วยให้เราสามารถเก็บรักษาลมที่ใช้เวลาเป่าไว้ได้โดยไม่มีการ รั่วไหลออกจากริมฝีปาก นอกจากนี้ยังช่วยให้ลิ้นแซ็กโซโฟนสามารถสั่นได้ดียิ่งขึ้น
นอกจากนี้เราต้องไม่ลืมว่า embouchure นั้นไม่ได้หมายถึงลักษณะของริมฝีปากเพียงอย่างเดียว หากแต่ยังรวมไปถึงลักษณะภายในช่องปากอีกด้วย หรืออย่างที่เรามักได้ยินภาษานักดนตรีเรียกว่า “เปิดคอ” โดยรวมก็หมายถึงการให้เราพยายามเปิดโพลงในช่องปากให้กว้างออก มีลักษณะเหมือนเมื่อเวลาเราเปล่งเสียงตัว “O” (เช่นเวลาออกเสียงคำว่า “โอ้” เป็นต้น) เทคนิกในการฝึกเปิดคอที่คนนิยมพูดถึงกันก็คือให้คิดเสมือนว่าเรากำลังอมลูก ชิ้นร้อนๆอยู่ในปาก อารมณ์ว่ากำลังอยู่ต่อหน้าแฟน จะคายทิ้งก็ไม่ได้เดี๋ยวจะดูน่าเกลียดแต่จะกลืนก็ไม่ได้เพราะร้อนเหลือเกิน หรือเทคนิกที่เวปมาสเตอร์คิดขึ้นเอง ก็ให้นึกถึงตอนที่เราไปหาหมอแล้วหมอเค้าเอาไม้ไอติมกดลิ้นเราลงเวลาตรวจคอ นั่นล่ะ เราอาจจะออกเสียง อาร์ แล้วคิดซะว่ากำลังอ้าปากให้หมอดู หรือใครจะลองไปทำให้ตอนไปหาหมอดูจริงๆก็ได้นะ ถ้าหมอไม่ต้องเอาไม้มากดลิ้นเราลงอีกก็แปลว่านั่นล่ะ ใช่แล้ว
Air Stream
การใช้ลมเพื่อจะเป่าแซ็กโซโฟนนั้น เราต้องใช้ลักษณะลมร้อน (warm air stream) ลักษณะก็เหมือนเวลาที่เราต้องการจะเป่าแก้วหรือเลนแว่นตาให้ขึ้นฝ้านั่นล่ะ อีกตัวอย่างหนึ่งก็ลองเอามือไปแช่ในถังน้ำแข็งดู พอรู้สึกว่ามือเย็นจนจะแข็งเป็นน้ำแข็งแล้วก็เอาออกมาแล้วเอาปากเป่าดู ลมที่เราใช้เป่าให้มือเราอุ่นขึ้นนั่นล่ะ ลมร้อน แบบที่เราต้องการเวลาเป่าแซ็กโซ โฟน
Breathing
นอกจากลักษณะของลมที่ใช้แล้วเรายังต้องกำหนดลักษณะการหายใจด้วย การหายใจเพื่อเป่าแซ็กโซโฟนนั้นจะแตกต่างจากลักษณะการหายใจปรกติที่เราใช้ใน ชีวิตประจำวันกล่าวคือ เมื่อเราหายใจเข้า หน้าท้อง และ ชายโคลงโดยรอบ ควรจะขยายออก และหัวไหล่ไม่ขยับขึ้นด้านบน (ไม่ยักไหล่ขึ้น) ซึ่งอาจจะต่างจากลักษณะการหายใจโดยปรกติซึ่งเมื่อหายใจเข้าหน้าท้องมักจะยุบ ลง หากใครหายใจเข้าให้ชายโคลงขยายออกไม่ได้ เวปมาสเตอร์แนะนำให้ลองนั่งบนเก้าอี้แล้วก้มตัวลงเอามือแตะพื้น จากนั้นหายใจเข้าให้สุดแบบว่ายัดลมเข้าไปไม่ได้อีกแล้ว พยายามให้กระดูกซีโคลงด้านหลังขยายออกให้มากที่สุด จากนั้นก็ให้พยายามจดจำการเคลื่อนไหวของร่างกายเอาไว้ เมื่อจำได้แล้วให้ลองหายใจเข้าให้สุด แล้วหายใจออกโดยที่ยังทิ้งให้กระดูกชายโคลงขยายออกอยู่ในตำแหน่งเดิมเหมือน เมื่อเราหายใจเข้า วิธีนี้จะช่วยให้เราสามารถเก็บสะสมลมไว้ใช้เวลาเป่าได้มากขึ้น (เทคนิคการฝึกลมนี้จดจำมาจาก “จ๋า” เมื่อสมัยสมัยผมเรียนอยู่มหาลัย ขอขอบคุณมาอาจารย์มา ณ ที่นี้ด้วยครับ)
เมื่อเราเล่นแซกโซโฟนบ่อยครั้งที่เรามักจะพบว่าเวลาในการหายใจเข้านั้นมี สั้นมาก และบ่อยครั้งอีกเช่นกันที่เราจะต้องเป่าท่อนยาวๆโดยไม่มีโอกาสพักหายใจ การฝึกเก็บกักลมจึงมาความสำคัญมาก เราต้องฝึกที่จะหายใจเข้าให้เร็ว และยืดระยะเวลาในการผ่อนลมหายใจออกให้ได้นาน วิธีการฝึกนี้ทำได้โดยให้ฝึกดังนี้
การฝึกเล่น saxophone นั้นไม่ยากและไม่ง่ายจนเกินไป วันนี้เรามาลองทำความเข้าใจกันว่าการฝึกเป่า saxophone อย่างถูกวิธีนั้นเป็นอย่างไร
พื้นฐานการเป่าแซ็กโซโฟนเบื้องต้น
Tone (โทน)
ในที่นี้ขอเรียกการออกเสียงจากแซ็กโซโฟนโดยรวมว่า Tone ซึ่งมีรายละเอียดปลีกย่อยดังจะได้กล่าวต่อ ไป
The saxophone sonority หรือที่เรียกว่าความก้องกังวาลของเสียงที่เราเป่าออกมา ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง และต้องอาศัยเวลาในการฝึกฝนพัฒนาเพื่อให้ได้เสียงที่ต้องการ เปรียบเสมือนนักกีฬาที่ต้องหมั่นฟิตซ้อมร่างกายอย่างสม่ำเสมอ สิ่งสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อเสียงที่เราเป่าออกมาก็คือ Tone, Embouchure, Air, Dynamics และ Intonation
Tone ในที่นี้หมายถึงเสียงที่เปล่งออกมาจากแซ็กโซโฟน (ไม่ได้หมายถึงการออกเสียงโดยรวมอย่างหัวข้อที่เอ่ยไว้ข้าง บน)
Embouchure คือลักษณะของรูปปากที่เราใช้รวมถึงลักษณะภายในช่องปากในขณะที่ เราเป่าแซกโซโฟน
Air หมายถึงลักษณะการใช้ลม การหายใจ เข้า-ออก ขณะที่เป่าแซกโซโฟน
Dynamics คือความ ดัง-เบา ของเสียงที่เราเล่น
Intonation คือการออกเสียง หากเปรียบกับเวลาที่เราพูด ก็คงเหมือนการออกเสียงพยัญชนะและสระต่างๆ มีผลเปรียบเสมือนคนพูดชัดหรือไม่ชัด นั่นเอง
The saxophone tone
ในการฝึกขั้นแรก ผู้เล่นควรเริ่มจากการฝึกเป่าเสียงที่เรียบ และหนักแน่น เปรียบเสมือนเส้นตรง (Straight Tone) เมื่อฝึกออกเสียงให้ราบเรียบเป็นเส้นตรงได้แล้วจะช่วยให้พัฒนาการควบคุม dynamics และ intonation เป็นไปได้ง่ายยิ่งขึ้น
ในการจะฝึก straight tone ผู้เล่นควรคำนึงถึงการใช้ embouchure ที่ดีและการความคุมกระแสลมที่ใช้ในการเป่า (air stream)
Embouchure
การใช้ embouchure ที่ดีจะช่วยให้เสียง มี projection ที่ดี (projection หรือการ project เสียง คือการกำหนดจุดเป้าหมายที่ต้องการให้ผู้ฟังได้ยินเสียงเราชัดเจน) ดังที่มีคำกล่าวว่า “คุณต้องเล่นให้เสียงดังไปถึงผู้ฟังที่นั่งอยู่แถวหลังสุด แม้ขณะที่คุณกำลังเล่นเสียงที่เบาที่สุดอยู่ก็ตาม” บางคนอาจจะสงสัยว่าก็เล่นเสียงเบาที่สุดอยู่แล้วมันจะดังไปถึงผู้ชมแถวหลัง สุดได้อย่างไร อันนี้เวปมาสเตอร์ก็จนปัญญาจะอธิบายครับ คงได้แต่บอกให้ไปลองเอง โดยอาจจะให้เพื่อนช่วยฟังโดยยืนทิ้งระยะห่างต่างๆกัน หรือให้เพื่อนเป่า แล้วเราลองไปยืนที่ระยะห่างต่างๆกัน โดยให้ผู้เล่นเป่าเสียงที่เบา แต่คิดอยู่ในใจว่า เพื่อนเราที่ยืนอยู่อีกฝั่งต้องได้ยิน แล้วจะเข้าใจขึ้นมาเอง ว่าการโปรเจคเสียงนั้น เป็นอย่างไรโดยยึดตามคอนเสปที่กล่าวไปข้าง ต้น
การใช้รูปปากที่เรียกกันว่า Round Embouchure จะช่วยให้สามารถโปรเจคเสียงได้อย่างที่กล่าวไปข้างต้น โดยเวลาเป่านั้นให้ห่อริมฝีปากเป็นรูปตัววงกลม การทำดังนี้จะช่วยให้เราสามารถเก็บรักษาลมที่ใช้เวลาเป่าไว้ได้โดยไม่มีการ รั่วไหลออกจากริมฝีปาก นอกจากนี้ยังช่วยให้ลิ้นแซ็กโซโฟนสามารถสั่นได้ดียิ่งขึ้น
นอกจากนี้เราต้องไม่ลืมว่า embouchure นั้นไม่ได้หมายถึงลักษณะของริมฝีปากเพียงอย่างเดียว หากแต่ยังรวมไปถึงลักษณะภายในช่องปากอีกด้วย หรืออย่างที่เรามักได้ยินภาษานักดนตรีเรียกว่า “เปิดคอ” โดยรวมก็หมายถึงการให้เราพยายามเปิดโพลงในช่องปากให้กว้างออก มีลักษณะเหมือนเมื่อเวลาเราเปล่งเสียงตัว “O” (เช่นเวลาออกเสียงคำว่า “โอ้” เป็นต้น) เทคนิกในการฝึกเปิดคอที่คนนิยมพูดถึงกันก็คือให้คิดเสมือนว่าเรากำลังอมลูก ชิ้นร้อนๆอยู่ในปาก อารมณ์ว่ากำลังอยู่ต่อหน้าแฟน จะคายทิ้งก็ไม่ได้เดี๋ยวจะดูน่าเกลียดแต่จะกลืนก็ไม่ได้เพราะร้อนเหลือเกิน หรือเทคนิกที่เวปมาสเตอร์คิดขึ้นเอง ก็ให้นึกถึงตอนที่เราไปหาหมอแล้วหมอเค้าเอาไม้ไอติมกดลิ้นเราลงเวลาตรวจคอ นั่นล่ะ เราอาจจะออกเสียง อาร์ แล้วคิดซะว่ากำลังอ้าปากให้หมอดู หรือใครจะลองไปทำให้ตอนไปหาหมอดูจริงๆก็ได้นะ ถ้าหมอไม่ต้องเอาไม้มากดลิ้นเราลงอีกก็แปลว่านั่นล่ะ ใช่แล้ว
Air Stream
การใช้ลมเพื่อจะเป่าแซ็กโซโฟนนั้น เราต้องใช้ลักษณะลมร้อน (warm air stream) ลักษณะก็เหมือนเวลาที่เราต้องการจะเป่าแก้วหรือเลนแว่นตาให้ขึ้นฝ้านั่นล่ะ อีกตัวอย่างหนึ่งก็ลองเอามือไปแช่ในถังน้ำแข็งดู พอรู้สึกว่ามือเย็นจนจะแข็งเป็นน้ำแข็งแล้วก็เอาออกมาแล้วเอาปากเป่าดู ลมที่เราใช้เป่าให้มือเราอุ่นขึ้นนั่นล่ะ ลมร้อน แบบที่เราต้องการเวลาเป่าแซ็กโซ โฟน
Breathing
นอกจากลักษณะของลมที่ใช้แล้วเรายังต้องกำหนดลักษณะการหายใจด้วย การหายใจเพื่อเป่าแซ็กโซโฟนนั้นจะแตกต่างจากลักษณะการหายใจปรกติที่เราใช้ใน ชีวิตประจำวันกล่าวคือ เมื่อเราหายใจเข้า หน้าท้อง และ ชายโคลงโดยรอบ ควรจะขยายออก และหัวไหล่ไม่ขยับขึ้นด้านบน (ไม่ยักไหล่ขึ้น) ซึ่งอาจจะต่างจากลักษณะการหายใจโดยปรกติซึ่งเมื่อหายใจเข้าหน้าท้องมักจะยุบ ลง หากใครหายใจเข้าให้ชายโคลงขยายออกไม่ได้ เวปมาสเตอร์แนะนำให้ลองนั่งบนเก้าอี้แล้วก้มตัวลงเอามือแตะพื้น จากนั้นหายใจเข้าให้สุดแบบว่ายัดลมเข้าไปไม่ได้อีกแล้ว พยายามให้กระดูกซีโคลงด้านหลังขยายออกให้มากที่สุด จากนั้นก็ให้พยายามจดจำการเคลื่อนไหวของร่างกายเอาไว้ เมื่อจำได้แล้วให้ลองหายใจเข้าให้สุด แล้วหายใจออกโดยที่ยังทิ้งให้กระดูกชายโคลงขยายออกอยู่ในตำแหน่งเดิมเหมือน เมื่อเราหายใจเข้า วิธีนี้จะช่วยให้เราสามารถเก็บสะสมลมไว้ใช้เวลาเป่าได้มากขึ้น (เทคนิคการฝึกลมนี้จดจำมาจาก “จ๋า” เมื่อสมัยสมัยผมเรียนอยู่มหาลัย ขอขอบคุณมาอาจารย์มา ณ ที่นี้ด้วยครับ)
เมื่อเราเล่นแซกโซโฟนบ่อยครั้งที่เรามักจะพบว่าเวลาในการหายใจเข้านั้นมี สั้นมาก และบ่อยครั้งอีกเช่นกันที่เราจะต้องเป่าท่อนยาวๆโดยไม่มีโอกาสพักหายใจ การฝึกเก็บกักลมจึงมาความสำคัญมาก เราต้องฝึกที่จะหายใจเข้าให้เร็ว และยืดระยะเวลาในการผ่อนลมหายใจออกให้ได้นาน วิธีการฝึกนี้ทำได้โดยให้ฝึกดังนี้