Saxophone Scale สำคัญอย่างไร?

Saxophone Scale
 
“ทำไม.....ตอนเริ่มเล่นดนตรี รุ่นพี่ชอบบอกให้ ซ้อม Scale?
ทำไม.....ตอนสอบเข้ามหาลัยดนตรี ต้องสอบ Scale?
ทำไม.....ตอนเรียนเอกดนตรี อาจารย์สอนเครื่องมือเอกถึงสั่งการบ้าน Scale?
ทำไม.....ตอนจบออกมาไปสอนนักเรียนต่อ เราจึงสั่งให้นักเรียนซ้อม Scale?”
 
เคยสงสัยกันมั้ยครับว่าทำไม Scale มันถึงสำคัญกับนักดนตรีมาก?
 
วันนี้ผมจะมาอธิบายว่าทำไม Scale มันถึงได้สำคัญมากขนาดนั้น การทำความเข้าใจ อธิบายถึงการซ้อม  อีกทั้งผลดีได้ตามมาจากการซ้อม Scale ที่อยู่ในเครื่องดนตรี Saxophone กันครับ
 
Scale สำคัญอย่างไร?
เชื่อว่านัก saxophone ที่หัดเล่นใหม่ๆหรือเล่นมาซักพักแล้ว จะต้องเคยเจอกับปัญหาเหล่านี้
  1. เป่าตัวสูงมากไม่ออก
  2. ตัดลิ้นตัวต่ำไม่ได้ (หรือตัดได้ แต่มีลมมาก่อน หรือไม่ก็มีเสียงสูงนำมาก่อน)
  3. เจอโน้ตที่เล่นเร็วๆ แต่กดนิ้วไม่ทัน
  4. ตัดลิ้นได้ไม่เร็วพอ
  5. เวลาที่กำลังเล่นเพลงอยู่ ชอลลืมกด # หรือ b (โดยเฉพาะเพลงที่ติด # หรือ b เยอะ นิ้วจะยิ่งไม่คล่อง)
ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป เพียงแค่เราซ้อม Scale เป็นประจำ
            ผมขอเปรียบว่าการซ้อม Scale ก็เหมือนเรามียาพาราไว้ในบ้าน ชีวิตผมได้มีโอกาสเข้าโรงพยาบาลอยู่บ่อยครั้ง จนผมสังเกตุได้ว่าเกือบทุกครั้งที่ผมเข้ารักษา ไม่ว่าจะเป็น รักษารากฟัน, ปวดหัว, โดนหมากัด, รถจักรยานล้ม, นิ้วซ้น, แขนหัก และอีกหลายๆอย่าง คุณหมอก็จะให้ยามา 1 ชุด ไม่เยอะก็น้อย แต่สิ่งนึงที่ขาดไปไม่ได้คือยาพารานั่นเอง แล้วมันเกี่ยวกับ Scale ยังไงกัน? ก็เพราะว่าการซ้อม Scale เป็นเบสิคของการแก้ปัญหาต่างๆเกี่ยวกับการเป่า Saxophone ของเรา เหมือนเช่นที่กล่าวมาในข้อ 1-5 ครับ
 
            ทำความเข้าใจ
          Scale มีอยู่ด้วยกันหลายแบบ ตัวอย่างเช่น Major Scale, Minor Scale, Blue Scale, Pentatonic Scale โดยในบทความนี้ผมจะพูดถึงสิ่งใกล้ตัวที่สุดกันก่อน คือ Major Scale ก็คือ Scale ที่วงต่างๆใช้วอร์มกัน อย่างที่เด็กๆวงโย คุ้นหูกันว่า “Bb Concert Scale” นั่นก็คือหนึ่งใน Major Scale ด้วย ความจริงมันก็ไม่ได้ยากหนักหนา

ซักเท่าไหร่ เพราะเป็นสิ่งที่เราเป่ากันอยู่เกือบทุกๆวันในวง แต่คราวนี้เราจะมาทำให้

  Scale ธรรมดาที่เป่ากันในวง ให้กลายมาเป็นแบบฝึกหัดที่ดีสำหรับการซ้อมSaxophone กัน

 ก่อนที่จะเริ่มเป่า Scale เราลองมาทำความรู้จักกับโครงสร้างของมันกันก่อน ส่วนตัวผมแนะนำว่าการซ้อม Scale ต่างๆให้ดีนั้น เราต้องรู้โครงสร้างและวิธีคิดของมันกันก่อน ถ้าเราเข้าใจในส่วนนี้จะทำให้เราสามารถจำและซ้อม Scale ต่างๆได้ง่ายขึ้น

เริ่มจาก C – Major Scale และโครงสร้างของ Major Scale

= 1 เสียงเต็ม (ช่วงเสียงจะห่างกัน 2 ครึ่งเสียง)

 

= ครึ่งเสียง (ช่วงเสียงจะห่างกัน 1 ครึ่งเสียง)

ต่อไปผมลองให้แบบฝึกหัดการคิด Scale ไว้ 3 ข้อ ให้ลองฝึกคิดกัน

 

แนะนำให้ลองนำโครงสร้างของ scale ไปฝึกคิดให้ครบทั้ง 12 เสียง สังเกตุง่ายๆ คือ โน้ตตัวแรกกับตัวสุดท้ายจะต้องเป็นตัวเดียวกัน ถ้าออกมาแล้วมันไม่ใช่ก็แสดงว่าต้องมีอะไรผิดซักที่ในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง

 

            การซ้อม Scale ใน Saxophone

            ในการซ้อม Scale ของ Saxophone ที่ผมจะมาพูดถึงคือการซ้อมแบบ Full Range (การเป่าเต็มช่วงเสียงของเครื่อง Saxophone) แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ

  1. เริ่มเล่นโน้ตตัวแรกของ Scale ตามปรกติ
  2. ไล่ขึ้นไปหาตัวที่สูงที่สุดของเครื่อง Saxophone (บาง Scale จะขึ้นไปถึง F สูง แต่บาง Scale จะถึง F#)
  3. ไล่ลงไปถึงตัวที่ต่ำสุดของเครื่อง Saxophone (บาง Scale จะลงไปถึง B ต่ำ แต่บาง Scale จะถึง Bb ต่ำ)
  4. กลับขึ้นไปหาตัวแรกที่เราเริ่ม

 

ตัวอย่างที่ 1. C Major Scale

  1. เริ่มตัว C ต่ำ
  2. ไล่ขึ้นไป F สูง (เพราะ key C ไม่มี F# เลยขึ้นไปสูงสุดแค่ F)
  3. ไล่ลงไป B ต่ำ (เพราะ key C ไม่มี Bb เลยลงไปต่ำสุดแค่ B)
  4. กลับไปตัว C ต่ำ

ตัวอย่างที่ 2. G Major Scale

  1. เริ่มตัว G
  2. ไล่ขึ้นไป F# สูง (เพราะ key G ติด F#)
  3. ไล่ลงไป B ต่ำ (เพราะ key G ไม่มี Bb หรือ A#)
  4. กลับไปหาตัว G

ขั้นตอนถัดมาต่อจากที่เราเริ่มเป่าคล่องแล้ว ก็มาเริ่มใส่ 1. Tempo (จังหวะ) 2. Articulation (ตัดลิ้น) ซึ่งทั้ง 2 อย่างนี้ถือว่าสำคัญมากในการซ้อม Scale ผมแนะนำว่าถ้าอยากฝึกให้ได้ผลก็ควรจะใส่ทั้ง 2 อย่างเข้ามาในการซ้อม ไม่อย่างงั้นเราก็เสียเวลาซ้อมไปแต่ไม่พัฒนาอย่างที่ควรจะเป็น ลองนึกภาพว่าเหมือนเรานั่งพิมพ์งานใน Microsoft Word            ไว้ 4 หน้า แต่ไม่กดเซฟดูก็ได้ครับ คงจะเห็นภาพชัดเจนขึ้นว่าเราจะเสียเวลาโดยไม่เกิดประโยชน์อย่างที่ควรจะได้ คงจะเห็นภาพใช่มั้ยครับว่าทำไมต้องใส่ 2 อย่างนี้เข้ามา ตอนซ้อม Scale

 

  1. Tempo (จังหวะ)

สิ่งแรกเลยที่เราควรจะมีติดตัวไว้เสมอ คือ Metronome นั่นเอง ซึ่งเดี๋ยวนี้หาได้ง่าย เกือบจะเท่ากับ 7-11 เลยก็ว่าได้ สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์ดนตรีทั่วๆไป หรือถ้าใครที่มี Smart Phone ก็เพียงแค่โหลดแอพที่เกี่ยวกับ Metronome มาซักอัน ซึ่งในหลายๆแอพก็มีให้โหลดฟรีด้วย ส่วนตัวผมคิดว่าไม่ต้องไปเสียเงินซื้อแอพแพงๆก็ยังได้ครับ เพราะเปิดมามันก็เคาะจังหวะให้เราเท่ากัน อีกอย่าง เราเป่าตรงหรือไม่ตรงจังหวะ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับราคาเลย

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าควรจะเปิด Metronome ที่จังหวะเท่าไหร่ดี? ผมนะนำว่าควรจะเปิดจากช้าๆ ยิ่งช้ายิ่งดี เปิดในจังหวะที่เราเล่นแล้วสบาย คิดถึงนิ้วที่จะกดต่อไปได้ทัน บางทีอาจจะเริ่มที่ 60 หรืออาจจะช้ากว่านั้นก็ได้ แล้วค่อยขยับขึ้นทีละ 2 เช่น เริ่มที่ 60 พอได้แล้วก็ขยับขึ้นมาเป็น 62 - 64 – 66 -ขึ้นไปเรื่อยๆได้เลย ไม่มีกำหนดว่าจะต้องเร็วสุดแค่ไหน

 

สำหรับคนที่ไม่คล่องเลยหรือกำลังฝึกใน Scale ที่ยากๆ มีหลาย # หรือหลาย b ผมแนะนำว่าเริ่มฝึกจาก

  • เล่นเป็น ตัวดำ (ตัวละหนึ่งจังหวะ) จาก Tempo = 60 ขึ้นไปถึง = 120 จากนั้นไปขั้นที่ 2
  • เล่นเป็นเขบ็ต 1 ชั้น (2 ตัว ต่อหนึ่งจังหวะ) จาก Tempo = 60 ขึ้นไปถึง = 120 จากนั้นไปขั้นที่ 3
  • เล่นเป็นเขบ็ต 2 ชั้น (4 ตัว ต่อหนึ่งจังหวะ) จาก Tempo = 60 คราวนี้ก็ขึ้นไปได้เรื่อยๆเลย
      2. Articulation (ตัดลิ้น)

ที่ผมเจอมาหลายๆครั้ง คนส่วนใหญ่มักมองข้ามเรื่องนี้ไป คิดว่าเป็นสิ่งที่ไม่สำคัญสำหรับการฝึก สำหรับผมมองว่ามันเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างนึงของคนเล่นเครื่องเป่า ที่เราควรจะฝึกไว้ การตัดลิ้นให้เคลียก็ช่วยทำให้เพลงที่เรากำลังบรรเลงอยู่นั้นมีความชัดเจนมากขึ้น ลองเปรียบเทียบเหมือนคนพูดแบบไม่ปิดปากดู เช่นลองพูดประโยคนี้ “วันนี้จะไปกินข้าวที่ไหนดี” รอบแรกที่พูด ลองไม่ต้องปิดปาก รอบที่สองลองขยับลิ้นเราให้น้อยที่สุด เป็นไงครับ พอเห็นภาพแล้วใช่มั้ย ว่าการที่เราเล่นไปโดยไม่มี Articulation เลย มันจะออกมาเป็นยังไง และสำหรับบางคนที่คิดว่าเป่าโน้ตให้ได้ก่อนแล้วค่อย Articulation ใส่ไปทีหลัง ผมแนะนำว่าใส่ไปตั้งแต่ตอนแรกที่เราซ้อมเลยจะดีกว่า เพราะเราจะได้ซ้อมจากช้าๆ แต่ถ้าเร็วเมื่อไหร่ เราก็จะชินกับมัน แล้วจะกลับมาแก้ก็ยากแล้ว

ในบทความนี้ผมจะยกตัวอย่างของ Articulation มา 6 แบบ ให้ลองไปฝึกกันครับ

  • Staccato (สั้น)ตัดลิ้นสั้นทั้ง  4 ตัว ถ้าอยู่ในScale 
  • Slur (ไม่ตัดลิ้น) ตัดลิ้นเฉพาะตัวที่ 1ถ้าอยู่ใน Scale
  • Slur ทีละ 2 ตัว ตัดลิ้นเฉพาะตัวที่ 1 กับ 3 ถ้าอยู่ใน Scale จะเป็น
  • Slur 2 Staccato 2 ตัดลิ้นตัวที่ 1 และ ตันสั้นตัวที่ 3 กับ 4 ถ้าอยู่ใน Scale 

  • Staccato 2 Slur 2 ตัดลิ้นสั้นตัวที่ 1 กับ 2 ตัวที่ 3 ตัดลิ้นปรกติถ้าอยู่ใน Scale 


  • Staccato 1 Slur 2 Staccato 1 ตัดลิ้นสั้นตัวที่ 1 กับ 4 ตัวที่ 2 ตัดลิ้นปรกติ

ลองนำแบบฝึก Articulation ทั้ง 6 แบบนี้ ไปรวมกับแบบฝึก Tempo ที่ให้ไว้ก่อนหน้านี้ ก็จะทำให้มันไม่ยากที่จะซ้อมเลย เพียงแค่เริ่มจากช้าๆ ค่อยๆเร็วขึ้นเรื่อยๆ ทีละขั้นตอน และเพิ่มขึ้นทีละ Scale เท่านี้ก็จะทำให้เราพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว

สามารถเข้าไปดูตัวอย่างของการเป่า Articulation ทั้ง 6 แบบ ได้ที่เว็บไซต์ของผม www.wisuwat.com จะช่วยให้ได้ยินเสียงของ Articulation ได้เข้าใจมากขึ้นครับ

 

ข้อแนะนำสำหรับการซ้อม ถ้าเราเล่น Scale ที่นิ้วยากๆ หรือ ที่ Articulation ยากๆ ผมก็จะมีวิธีแก้ไขที่ใช้ได้ผลมาฝากกันครับ

  1. ให้ลองเป่าจังหวะแรก แล้วหยุด 1 จังหวะ วนซ้ำไปเรื่อยๆจนกว่าจะคล่อง
  2. เพิ่มจังหวะ 2 เข้ามา แล้วหยุด 1 จังหวะ วนซ้ำไปเรื่อยๆจนกว่าจะคล่อง
  3. เพิ่มจังหวะ 3 เข้ามา แล้วหยุด 1 จังหวะ วนซ้ำไปเรื่อยๆจนกว่าจะคล่อง

จากนั้นก็เพิ่มเข้ามาเรื่อยๆจนได้ครบรอบ อย่างเช่นในตัวอย่างต่อไปนี้

ตอนซ้อมต้องดูอะไรบ้าง และซ้อมยังไงให้ได้ประโยชน์มากที่สุด?

  1. แนะนำว่าแต่ละ Scale ให้เล่น 2 รอบ พอจบรอบแรกให้ต่อรอบที่ 2 เลย โดยที่ไม่หยุดหายใจระหว่างที่กำลังเป่าอยู่ พยายามใช้ลมเดียวตั้งแต่แรกจนจบให้ได้ เท่านี้เราก็จะสามารถฝึกลมไปพร้อมๆกันกับ Scale ได้เลย
  2. สังเกตนิ้วของเรา ไม่ให้ยกสูงจนเกินไป การยกนิ้วสูงจะเป็นปัญหาตอนเล่นจังหวะเร็วๆ ทำให้นิ้วของเราไม่สามารถกลับมากดได้ทัน
  3. ท่าเป่า ไม่ว่าจะนั่งหรือยิน ให้หลังตรงอยู่ตลอดเวลา และไม่ก้มหน้าหรือเงยหน้าจนเกินไป
  4. ข้อนี้สำคัญมาก คือ ต้องเล่นให้เคลีย นิ้วกับลิ้นไม่ติดหรือสลับกัน และพยายามทำให้เสียงที่เล่นออกมาทุกเสียงชัดเจนนะครับ เพราะถ้าเราไม่สามารถคุมการเป่า Scale ของเราให้เคลียได้ เท่ากับว่าเวลาเราเป่าเพลงหรืออย่างอื่นที่ยากกว่า Scale เราก็จะไม่สามารถเป่าให้เคลียได้เช่นกัน

 

            ก่อนจะจบบทความนี้ผมขอเพิ่มตารางที่ใช้ในการซ้อมไปให้ ซึ่งก็เป็นตารางการบ้านที่ผมใช้สอนนักเรียนในแต่ละอาทิตย์ ถ้านักเรียนสามารถเป่าถึง Tempo ที่ให้ไป ก็ให้ผ่านไปในช่องนั้น ลองนำตารางนี้ไปใช้ควบคู่กับการซ้อมกันดูครับ

ในตาราง Scale นี้ก็นำมาจาก Circle Fifths นั่นเอง จะเห็นว่าในตาราง Scale จะเรียงกันจาก # น้อยไปมาก และจากนั้นก็จะเป็น Scale ทาง b ซึ่งถ้าไล่จากด้านล่างขึ้นมาก็จะเรียงจาก b น้อยไปมาก ส่วนตอนซ้อมก็จะมีให้เลือกดังต่อไปนี้

  1. เล่นทาง # โดยเริ่มจาก Scale ที่มี # น้อยไปหามาก เช่น C G D A E B F# C#
  2. เล่นทาง b โดยเริ่มจาก Scale ที่มี b น้อยไปหามาก เช่น C F Bb Eb Ab Db Gb
  3. เล่นสลับกัน เช่น C G F D Bb A Eb E Ab B Db F#/Gb

จะเห็นว่าถ้าเราเล่น Scale โดยมีตารางการซ้อมที่ชัดเจน จะช่วยให้การซ้อมของเรามีระเบียบและแบบแผนมากขึ้น และยังมองเห็นภาพของการซ้อมผ่านตารางเหล่านี้ ในบทความหน้าผมจะมาอธิบายเพิ่มเติมถึงสิ่งที่อยู่ในตารางช่องต่อๆไปให้ฟังกันครับ

 

            ลองนำสิ่งที่ได้จากบทความนี้ไปรวมกับความรู้เดิมที่เรามีอยู่แล้ว นำไปพัฒนา และหมั่นฝึกซ้อมเป็นประจำ ผมเชื่อว่าอนาคตจะมีนัก Saxophone เก่งๆเกิดขึ้นมากมายในประเทศไทย