ลิ้นแซกโซโฟน (Saxophone reeds)

ลิ้นแซกโซโฟน (Saxophone reeds)

ปี่ชนิดลิ้นเดียว (Single Reed) เครื่องดนตรีที่มีลักษณะเป็นทรงกรวย ยาว เป็นท่อ โดยบางชนิดเป็นท่อตรง
บางชนิดคดโค้งไปมา ขนาดเล็กใหญ่แตกต่างกันตามชนิดของเครื่องดนตรี
ในการเล่นเครื่องชนิดนี้จะใช้มือทั้งสองกดคีย์เพื่อบังคับเสียง โดยจะมีลิ้นเป็นส่วนประกอบที่สาคัญของแหล่งกาเนิดเสียง
ลิ้นจะมีลักษณะเป็นแผ่นไม้บางๆ คล้ายไม้ตักไอศกรีม ประกบอยู่กับกาพวด โดยมีสายรัดเป็นตัวยึดระหว่างกาพวดกับลิ้น
โดยเครื่องดนตรีที่ใช้ลิ้นเดียว ได้แก่ แซกโซโฟน (Saxophone) และคลาริเนต (Clarinet)
ลิ้นแซกโซโฟน (Saxophone reeds)
ลิ้นถือเป็นส่วนประกอบที่สาคัญของแซกโซโฟน (Saxophone) เพราะลิ้นทำหน้าที่สั่นสะเทือนจนทาให้เกิดเสียงขึ้น
และเสียงที่เกิดขึ้นมาจะถูกควบคุมให้กลายเป็นเสียงโน้ตต่างๆ โดยเสียงที่เกิดขึ้นต้องเป็นเสียงที่มีคุณภาพ โดยคุณภาพของเสียง
(Tone Quality) ถือเป็นองค์ประกอบหลักที่สาคัญที่นักดนตรีต้องคำนึงถึง เพื่อให้เสียงที่ได้มีความไพเราะ
เป็นไปตามความต้องการและสามารถสะท้อนถึงอารมณ์ตามที่ผู้บรรเลงต้องการ
ซึ่งองค์ประกอบของเสียงที่มีคุณภาพนั้นเกิดขึ้นมาจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลิ้น
ซึ่งเป็นตัวกาเนิดเสียงจะต้องมีลักษณะที่ถูกต้อง เหมาะสม และพร้อมใช้งานอยู่เสมอ
ลิ้นถูกผลิตขึ้นจากพืชที่รู้จักกันในชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Arundo donax หรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อ ต้นอ้อ
โดยพืชชนิดนี้มีหลากหลายสายพันธุ์ และเติบโตได้ในหลายประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เม็กซิโก อเมริกาใต้ แอฟริกาเหนือ
อิตาลี สเปน และบางประเทศในแถบเอเชีย ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยเองก็ได้มีผู้นาเข้าพืชชนิดดังกล่าวเข้ามาปลูก
แต่ทว่าสายพันธุ์ที่นิยมนามาใช้ทำลิ้นมักมาจากประเทศในพื้นที่แถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

ส่วนประกอบของลิ้น
ลิ้นจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยยึดเส้นแบ่งตรงกลาง (Shoulder) เป็นหลัก ส่วนแรกเป็นส่วนหนาอยู่ใต้เส้น shoulder
จะยังคงมีพื้นผิวเปลือกของต้นอ้อติดอยู่ ประกอบด้วยส่วน stock (bark) และ heel ซึ่งส่วนนี้ทำหน้าที่เป็นหน้าประกบ
โดยประกอบกับกำพวด ดังนั้นหน้าประกบต้องเรียบเสมอเท่ากัน และใช้เป็นส่วนที่รัดสายคาดลิ้น (Ligatura)
ส่วนที่สองอยู่เหนือเส้น shoulder ส่วนนี้จะมีจุดที่สำคัญหลายจุดที่ใช้ในการสร้างเสียงเพราะเป็นส่วนที่สั่นสะเทือน เช่น
จุดเนินกลาง (Vamp) จุดศูนย์กลาง (Heart) จุดปลายลิ้น (Tip) เป็นต้น

คุณสมบัติของลิ้นที่ดีนั้น ส่วนบนของลิ้นควรที่จะมีความยาวกว่าส่วนล่าง ทั้งนี้เพราะส่วนบนเป็นส่วนที่สั่นสะเทือน
ไม้อ้อที่ใช้ทำลิ้นต้องไม่อ่อนหรือแก่เกินไป โดยสังเกตจากสีของลิ้น ส่วนบนของลิ้นควรเป็นสีเหลืองทอง
ไม่ควรเป็นสีน้ำตาลเพราะไม้อ้อแก่เกินไป ส่วนล่างควรเป็นสีขาวหรือสีครีม
นอกจากสีของไม้ควรสังเกตดูลายของไม้ด้วยว่าเป็นเส้นตรงคู่ขนานกันตลอด ไม่ควรเลือกลิ้นที่ลายไม้หนา
บางไม่เท่ากันจะทำให้ความหนา บางของลิ้นไม่เท่ากัน สาหรับการเลือกลิ้นถ้าผู้บรรเลงต้องการลิ้นรูปตัวยู (U) หรือรูปตัววี (V)
ก็ให้ส่องดูกับแสงไฟและให้สังเกตดูบริเวณ heart จะมีลักษณะคล้ายตัวยูและตัววีและเลือกตามความต้องการ
ในกรณีที่ลิ้นที่เป่าเป็นลิ้นที่อ่อนเกินไปก็ให้แก้ไขเบื้องต้น โดยการวางลิ้นให้ปลายลิ้นอยู่เหนือหรือเลยปลายกำพวดเล็กน้อย
และถ้าลิ้นที่เป่าแข็งเกินไป ให้แก้ไขโดยการวางลิ้นให้ปลายลิ้นอยู่ใต้หรือต่ำกว่าปลายกำพวดเล็กน้อย
ก็จะสามารถแก้ไขปัญหาได้ในเบื้องต้น ซึ่งในการที่ผู้บรรเลงจะนำลิ้นมาใช้นั้น จะต้องมีการเตรียมลิ้น เช่น ตรวจสอบความเรียบ
ความแข็ง ความอ่อน ลิ้นต้องไม่แตกหักเสียหายไม่ฉีกขาด เมื่อลิ้นมีสภาพที่สมบูรณ์แล้วนั้น
ก่อนนำมาใช้ควรนำไปแช่น้ำให้ลิ้นมีความยืดหยุ่น ประมาณ 5 – 10 นาที จากนั้นก็สามารถนำลิ้นไปใช้งานได้ตามปกติ
แต่หากพบปัญหาในการสร้างเสียงที่มีคุณภาพ เช่น มีเสียงหึ่ง เสียงพล่า หรือรู้สึกว่าเสียงมีความผิดปกติ
ให้ผู้บรรเลงตั้งข้อสังเกตว่าความผิดปกตินั้นอาจเกิดขึ้นจากลิ้นเป็นลำดับแรก

การปรับแต่งลิ้น
การปรับแต่งลิ้นถือเป็นทักษะขั้นพื้นฐานที่สำคัญของผู้บรรเลง
เพราะลิ้นเป็นส่วนประกอบของเครื่องดนตรีที่ถูกนำมาใช้อยู่เป็นประจำ และมีโอกาสชำรุดเสียหายได้ง่าย
โดยเครื่องมือสำหรับการปรับแต่งลิ้น ประกอบด้วย มีดตัดลิ้น กระดาษทราย หินลับคมมีด ที่ตัดขอบลิ้น (Reed clipper) ที่เก็บลิ้น
แผ่นกระจกสำหรับวางลิ้นเพื่อปรับแต่ง ตะไบ
ในการปรับแต่งลิ้นนั้นลำดับแรกผู้บรรเลงต้องฟังเสียงที่ออกมาว่าผิดปกติหรือไม่ อย่างไร จากนั้นก็ให้ทำการปรับแต่งลิ้น
โดยกระทำการบางอย่างลงไปยังตำแหน่งของลิ้นโดยดูจากภาพประกอบและคำอธิบายดังนี้

- กรณีเสียงหึ่ง พร่า ลักษณะดังกล่าวน่าจะเกิดจากปลายลิ้นบางเกินไป วิธีแก้ไขคือใช้ตัดขอบลิ้น (Reed clipper) ตัดเล็ม
ปลายลิ้นเล็กน้อย บริเวณตำแหน่ง T แล้วนำมาทดลองเป่าดูจนกว่าเสียงหึ่ง พร่าจะหายไป
- กรณีปลายลิ้นบริเวณตำแหน่ง T หนาหรือแข็งเกินไป ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการแก้ไขกรณีเสียงหึ่ง พร่า หรืออาจเกิด
จากการที่ลิ้นไม่เคยถูกใช้งาน วิธีแก้ไขคือ ให้นำลิ้นถูกับกระดาษทรายโดยวางหน้าประกบลงบนกระดาษทราย
แล้วใช้นิ้วมือสองนิ้วกดไปที่บริเวณ 3 และ 8 แล้วถูกับกระดาษทรายในทิศทางเดียวกัน
โดยในการถูนั้นควรทำทีละเล็กทีละน้อยสลับกับการนำมาทดลองเป่าดู ทำจนกว่าลิ้นจะสามารถใช้งานได้ดี
- กรณีเสียงทึบไม่ใส เป่าเสียงเบายาก รวมไปถึงให้แก้ไขบริเวณ T และ 2 ด้วยการใช้ตะไบถู ให้ทั้งสองข้างมีความหนาที่
สมดุลและมีความบางเหมาะสมกับการสร้างเสียง โดยในการถูนั้นควรทาทีละเล็กทีละน้อยสลับกับการนามาทดลองเป่าดู
ทำจนกว่าลิ้นจะสามารถใช้งานได้ดี
- กรณีเสียงสูง หวีด แหลม ไม่นุ่มเท่าที่ควร การแก้ไขคือ ให้ใช้ตะไบถูบริเวณ 2 ให้ทั้งสองข้างมีความหนาที่สมดุลและมี
ความบางเหมาะสมกับการสร้างเสียง โดยในการถูนั้นควรทำทีละเล็กทีละน้อยสลับกับการนำมาทดลองเป่าดู
ทำจนกว่าลิ้นจะสามารถใช้งานได้ดี
- กรณีเสียงสูง คุณภาพเสียงไม่ดีเท่าที่ควร คือ เสียงตีบไม่กว้างเหมือนช่วงเสียงต่า การแก้ไขให้นำตะไบถูบริเวณ 3 โดย
ในการถูนั้นควรทำทีละเล็กทีละน้อยสลับกับการนำมาทดลองเป่าดู ทำจนกว่าลิ้นจะสามารถใช้งานได้ดี
- กรณีเสียงไม่ก้องกังวาน ลักษณะดังกล่าวอาจเกิดจากบริเวณด้านประกบ ถูกับกระดาษทรายโดยวางหน้าประกบลงบน
กระดาษทราย แล้วใช้นิ้วมือสองนิ้วกดไปที่บริเวณ 4 และ 8 เพื่อให้ช่องว่างระหว่างปลายลิ้นและกำพวดแคบลง
โดยในการถูนั้นควรทำทีละเล็กทีละน้อยสลับกับการนำมาทดลองเป่าดู ทำจนกว่าลิ้นจะสามารถใช้งานได้ดี
- หากทำการปรับแต่งลิ้นแล้วแต่ยังเป่ายาก เสียงยังไม่มีคุณภาพนั้น อาจเกิดปัญหาบริเวณ 3 4 5 6 ให้แก้ไขด้วยการใช้มีด
ตัดลิ้นขูดลิ้นบริเวณดังกล่าวให้บางลง นำมาทดลองเป่าดูและทำจนกว่าลิ้นจะสามารถใช้งานได้ดี

โดยจะเห็นได้ว่าการปรับแต่งลิ้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง และค่อยๆ
ปรับแต่งลิ้นทีละน้อยแล้วนำมาทดลองเป่าจนกระทั่งแน่ใจว่าลิ้นยังไม่สมบูรณ์ดีพอ จึงนามาปรับแต่งใหม่ ห้ามปรับแต่งทีละมากๆ
เพราะอาจจะทำให้ลิ้นเกิดความเสียหายจนไม่สามารถนำมาใช้งานได้
อีกทั้งในการปรับแต่งลิ้นผู้ที่สนใจเรียนรู้ต้องฝึกฝนอยู่เสมอเพื่อให้เกิดความชำนาญ