การใช้นิ้วลมและการใช้ลิ้นในการเป่าแซกโซโฟน (SLUR AND TONGUING)
การใช้นิ้วลมและการใช้ลิ้น (SLUR AND TONGUING)
เสียงของแซกโซโฟนที่ถูกเป่าออกมาประกอบด้วยอาการ 2 ลักษณะคือ การใช้ลมและการใช้ลิ้น นักแซกโซโฟนจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้ว่าเมื่อไรใช้ลมและเมื่อไรใช้ลิ้นในการเป่า ความวิจิตรพิสดารของเสียงในคีตวรรณกรรมแต่ละบทถูกประพันธ์ขึ้นโดยอาศัย การใช้ลมและการใช้ลิ้นในการเป่า เพื่อให้เป็นแนวทำนองที่น่าสนใจยิ่งขึ้นเป็นหลักเบื้องต้น
การใช้ลม
เป็นลักษณะของเสียงที่เป่าออกมา มีความติดต่อกันไม่ขาดระยะโดยใช้ลมเดียวกัน ตัวโน้ตที่เขียนจะมีเครื่องหมายการใช้ลมในลักษณะเส้นโค้งกำกับอยู่
ตัวโน้ตตัวแรกจะใช้ลิ้นเพียงตัวเดียว ส่วนตัวโน้ตที่ตามมาจะใช้ลมตลอดติดต่อกัน อาการของอวัยวะภายในปากจะอยู่กับที่ในขณะกระแสลมผ่านเข้าสู่กำพวด
การใช้ลิ้น
เป็นลักษณะของเสียงที่เป่าออกมาถูกแยกเสียงแต่ละเสียงออกจากกันโดยใช้ลิ้น ตัวโน้ตที่เขียนจะไม่มีเส้นโค้งกำกับอยู่
ถ้าต้องการให้เสียงมีช่องว่างระหว่างเสียงหรือมีเสียงสั้นมากยิ่งขึ้น ตัวโน้ตจะถูกประจุไว้ที่หัวเป็นเครื่องหมายแต่ค่าของตัวโน้ตยังคงเดิม
หมายเหตุ : ตัวโน้ตทุกตัวถึงแม้จะมีเสียงสั้น แต่ยังมีสิทธิที่จะต้องเป่าอย่างมีคุณภาพ
อาการของลิ้นขณะเป่า
โดยกระดิกปลายลิ้นไปแตะด้านล่างของลิ้นแซกโซโฟน แล้วตวัดลิ้นกลับที่เดิม ในขณะเดียวกันกระแสลมที่เป่ายังพุ่งอยู่อย่างเดิมมิได้เปลี่ยนแปลง
การฝึกลิ้นเพื่อใช้ในการเป่า
ให้พูดคำว่า “ที” หรือ “ทา” อาการของลิ้นในขณะเป่าจะอยู่ในลักษณะเดียวกันเมื่อพูด “ดู” หรือ “ทู” ตั้งเครื่องเคาะจังหวะในอัตรา 60 เคาะต่อหนึ่งนาที
ข้อควรระวัง
พยายามฝึกด้วยอัตราจังหวะที่สามารถควบคุมได้ รวมทั้งค่าของตัวโน้ตทุกตัวต้องแน่ใจว่าเท่ากัน สำเนียงถูกต้อง การใช้นิ้วไม่เกร็งหรือไม่กระดกห่างจนเกินไป กระแสลมที่เป่ามีความสม่ำเสมอ
เสียงของแซกโซโฟนที่ถูกเป่าออกมาประกอบด้วยอาการ 2 ลักษณะคือ การใช้ลมและการใช้ลิ้น นักแซกโซโฟนจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้ว่าเมื่อไรใช้ลมและเมื่อไรใช้ลิ้นในการเป่า ความวิจิตรพิสดารของเสียงในคีตวรรณกรรมแต่ละบทถูกประพันธ์ขึ้นโดยอาศัย การใช้ลมและการใช้ลิ้นในการเป่า เพื่อให้เป็นแนวทำนองที่น่าสนใจยิ่งขึ้นเป็นหลักเบื้องต้น
การใช้ลม
เป็นลักษณะของเสียงที่เป่าออกมา มีความติดต่อกันไม่ขาดระยะโดยใช้ลมเดียวกัน ตัวโน้ตที่เขียนจะมีเครื่องหมายการใช้ลมในลักษณะเส้นโค้งกำกับอยู่
ตัวโน้ตตัวแรกจะใช้ลิ้นเพียงตัวเดียว ส่วนตัวโน้ตที่ตามมาจะใช้ลมตลอดติดต่อกัน อาการของอวัยวะภายในปากจะอยู่กับที่ในขณะกระแสลมผ่านเข้าสู่กำพวด
การใช้ลิ้น
เป็นลักษณะของเสียงที่เป่าออกมาถูกแยกเสียงแต่ละเสียงออกจากกันโดยใช้ลิ้น ตัวโน้ตที่เขียนจะไม่มีเส้นโค้งกำกับอยู่
ถ้าต้องการให้เสียงมีช่องว่างระหว่างเสียงหรือมีเสียงสั้นมากยิ่งขึ้น ตัวโน้ตจะถูกประจุไว้ที่หัวเป็นเครื่องหมายแต่ค่าของตัวโน้ตยังคงเดิม
หมายเหตุ : ตัวโน้ตทุกตัวถึงแม้จะมีเสียงสั้น แต่ยังมีสิทธิที่จะต้องเป่าอย่างมีคุณภาพ
อาการของลิ้นขณะเป่า
โดยกระดิกปลายลิ้นไปแตะด้านล่างของลิ้นแซกโซโฟน แล้วตวัดลิ้นกลับที่เดิม ในขณะเดียวกันกระแสลมที่เป่ายังพุ่งอยู่อย่างเดิมมิได้เปลี่ยนแปลง
การฝึกลิ้นเพื่อใช้ในการเป่า
ให้พูดคำว่า “ที” หรือ “ทา” อาการของลิ้นในขณะเป่าจะอยู่ในลักษณะเดียวกันเมื่อพูด “ดู” หรือ “ทู” ตั้งเครื่องเคาะจังหวะในอัตรา 60 เคาะต่อหนึ่งนาที
ข้อควรระวัง
พยายามฝึกด้วยอัตราจังหวะที่สามารถควบคุมได้ รวมทั้งค่าของตัวโน้ตทุกตัวต้องแน่ใจว่าเท่ากัน สำเนียงถูกต้อง การใช้นิ้วไม่เกร็งหรือไม่กระดกห่างจนเกินไป กระแสลมที่เป่ามีความสม่ำเสมอ