Saxophone Scale สำคัญอย่างไร?
- เป่าตัวสูงมากไม่ออก
- ตัดลิ้นตัวต่ำไม่ได้ (หรือตัดได้ แต่มีลมมาก่อน หรือไม่ก็มีเสียงสูงนำมาก่อน)
- เจอโน้ตที่เล่นเร็วๆ แต่กดนิ้วไม่ทัน
- ตัดลิ้นได้ไม่เร็วพอ
- เวลาที่กำลังเล่นเพลงอยู่ ชอลลืมกด # หรือ b (โดยเฉพาะเพลงที่ติด # หรือ b เยอะ นิ้วจะยิ่งไม่คล่อง)
ซักเท่าไหร่ เพราะเป็นสิ่งที่เราเป่ากันอยู่เกือบทุกๆวันในวง แต่คราวนี้เราจะมาทำให้
Scale ธรรมดาที่เป่ากันในวง ให้กลายมาเป็นแบบฝึกหัดที่ดีสำหรับการซ้อมSaxophone กัน
ก่อนที่จะเริ่มเป่า Scale เราลองมาทำความรู้จักกับโครงสร้างของมันกันก่อน ส่วนตัวผมแนะนำว่าการซ้อม Scale ต่างๆให้ดีนั้น เราต้องรู้โครงสร้างและวิธีคิดของมันกันก่อน ถ้าเราเข้าใจในส่วนนี้จะทำให้เราสามารถจำและซ้อม Scale ต่างๆได้ง่ายขึ้น
เริ่มจาก C – Major Scale และโครงสร้างของ Major Scale
= 1 เสียงเต็ม (ช่วงเสียงจะห่างกัน 2 ครึ่งเสียง)
= ครึ่งเสียง (ช่วงเสียงจะห่างกัน 1 ครึ่งเสียง)
ต่อไปผมลองให้แบบฝึกหัดการคิด Scale ไว้ 3 ข้อ ให้ลองฝึกคิดกัน
แนะนำให้ลองนำโครงสร้างของ scale ไปฝึกคิดให้ครบทั้ง 12 เสียง สังเกตุง่ายๆ คือ โน้ตตัวแรกกับตัวสุดท้ายจะต้องเป็นตัวเดียวกัน ถ้าออกมาแล้วมันไม่ใช่ก็แสดงว่าต้องมีอะไรผิดซักที่ในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง
การซ้อม Scale ใน Saxophone
ในการซ้อม Scale ของ Saxophone ที่ผมจะมาพูดถึงคือการซ้อมแบบ Full Range (การเป่าเต็มช่วงเสียงของเครื่อง Saxophone) แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ
- เริ่มเล่นโน้ตตัวแรกของ Scale ตามปรกติ
- ไล่ขึ้นไปหาตัวที่สูงที่สุดของเครื่อง Saxophone (บาง Scale จะขึ้นไปถึง F สูง แต่บาง Scale จะถึง F#)
- ไล่ลงไปถึงตัวที่ต่ำสุดของเครื่อง Saxophone (บาง Scale จะลงไปถึง B ต่ำ แต่บาง Scale จะถึง Bb ต่ำ)
- กลับขึ้นไปหาตัวแรกที่เราเริ่ม
ตัวอย่างที่ 1. C Major Scale
- เริ่มตัว C ต่ำ
- ไล่ขึ้นไป F สูง (เพราะ key C ไม่มี F# เลยขึ้นไปสูงสุดแค่ F)
- ไล่ลงไป B ต่ำ (เพราะ key C ไม่มี Bb เลยลงไปต่ำสุดแค่ B)
- กลับไปตัว C ต่ำ
ตัวอย่างที่ 2. G Major Scale
- เริ่มตัว G
- ไล่ขึ้นไป F# สูง (เพราะ key G ติด F#)
- ไล่ลงไป B ต่ำ (เพราะ key G ไม่มี Bb หรือ A#)
- กลับไปหาตัว G
ขั้นตอนถัดมาต่อจากที่เราเริ่มเป่าคล่องแล้ว ก็มาเริ่มใส่ 1. Tempo (จังหวะ) 2. Articulation (ตัดลิ้น) ซึ่งทั้ง 2 อย่างนี้ถือว่าสำคัญมากในการซ้อม Scale ผมแนะนำว่าถ้าอยากฝึกให้ได้ผลก็ควรจะใส่ทั้ง 2 อย่างเข้ามาในการซ้อม ไม่อย่างงั้นเราก็เสียเวลาซ้อมไปแต่ไม่พัฒนาอย่างที่ควรจะเป็น ลองนึกภาพว่าเหมือนเรานั่งพิมพ์งานใน Microsoft Word ไว้ 4 หน้า แต่ไม่กดเซฟดูก็ได้ครับ คงจะเห็นภาพชัดเจนขึ้นว่าเราจะเสียเวลาโดยไม่เกิดประโยชน์อย่างที่ควรจะได้ คงจะเห็นภาพใช่มั้ยครับว่าทำไมต้องใส่ 2 อย่างนี้เข้ามา ตอนซ้อม Scale
- Tempo (จังหวะ)
สิ่งแรกเลยที่เราควรจะมีติดตัวไว้เสมอ คือ Metronome นั่นเอง ซึ่งเดี๋ยวนี้หาได้ง่าย เกือบจะเท่ากับ 7-11 เลยก็ว่าได้ สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์ดนตรีทั่วๆไป หรือถ้าใครที่มี Smart Phone ก็เพียงแค่โหลดแอพที่เกี่ยวกับ Metronome มาซักอัน ซึ่งในหลายๆแอพก็มีให้โหลดฟรีด้วย ส่วนตัวผมคิดว่าไม่ต้องไปเสียเงินซื้อแอพแพงๆก็ยังได้ครับ เพราะเปิดมามันก็เคาะจังหวะให้เราเท่ากัน อีกอย่าง เราเป่าตรงหรือไม่ตรงจังหวะ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับราคาเลย
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าควรจะเปิด Metronome ที่จังหวะเท่าไหร่ดี? ผมนะนำว่าควรจะเปิดจากช้าๆ ยิ่งช้ายิ่งดี เปิดในจังหวะที่เราเล่นแล้วสบาย คิดถึงนิ้วที่จะกดต่อไปได้ทัน บางทีอาจจะเริ่มที่ 60 หรืออาจจะช้ากว่านั้นก็ได้ แล้วค่อยขยับขึ้นทีละ 2 เช่น เริ่มที่ 60 พอได้แล้วก็ขยับขึ้นมาเป็น 62 - 64 – 66 -ขึ้นไปเรื่อยๆได้เลย ไม่มีกำหนดว่าจะต้องเร็วสุดแค่ไหน
สำหรับคนที่ไม่คล่องเลยหรือกำลังฝึกใน Scale ที่ยากๆ มีหลาย # หรือหลาย b ผมแนะนำว่าเริ่มฝึกจาก
- เล่นเป็น ตัวดำ (ตัวละหนึ่งจังหวะ) จาก Tempo = 60 ขึ้นไปถึง = 120 จากนั้นไปขั้นที่ 2
- เล่นเป็นเขบ็ต 1 ชั้น (2 ตัว ต่อหนึ่งจังหวะ) จาก Tempo = 60 ขึ้นไปถึง = 120 จากนั้นไปขั้นที่ 3
- เล่นเป็นเขบ็ต 2 ชั้น (4 ตัว ต่อหนึ่งจังหวะ) จาก Tempo = 60 คราวนี้ก็ขึ้นไปได้เรื่อยๆเลย
ที่ผมเจอมาหลายๆครั้ง คนส่วนใหญ่มักมองข้ามเรื่องนี้ไป คิดว่าเป็นสิ่งที่ไม่สำคัญสำหรับการฝึก สำหรับผมมองว่ามันเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างนึงของคนเล่นเครื่องเป่า ที่เราควรจะฝึกไว้ การตัดลิ้นให้เคลียก็ช่วยทำให้เพลงที่เรากำลังบรรเลงอยู่นั้นมีความชัดเจนมากขึ้น ลองเปรียบเทียบเหมือนคนพูดแบบไม่ปิดปากดู เช่นลองพูดประโยคนี้ “วันนี้จะไปกินข้าวที่ไหนดี” รอบแรกที่พูด ลองไม่ต้องปิดปาก รอบที่สองลองขยับลิ้นเราให้น้อยที่สุด เป็นไงครับ พอเห็นภาพแล้วใช่มั้ย ว่าการที่เราเล่นไปโดยไม่มี Articulation เลย มันจะออกมาเป็นยังไง และสำหรับบางคนที่คิดว่าเป่าโน้ตให้ได้ก่อนแล้วค่อย Articulation ใส่ไปทีหลัง ผมแนะนำว่าใส่ไปตั้งแต่ตอนแรกที่เราซ้อมเลยจะดีกว่า เพราะเราจะได้ซ้อมจากช้าๆ แต่ถ้าเร็วเมื่อไหร่ เราก็จะชินกับมัน แล้วจะกลับมาแก้ก็ยากแล้ว
ในบทความนี้ผมจะยกตัวอย่างของ Articulation มา 6 แบบ ให้ลองไปฝึกกันครับ
- Staccato (สั้น)ตัดลิ้นสั้นทั้ง 4 ตัว ถ้าอยู่ในScale
- Slur (ไม่ตัดลิ้น) ตัดลิ้นเฉพาะตัวที่ 1ถ้าอยู่ใน Scale
- Slur ทีละ 2 ตัว ตัดลิ้นเฉพาะตัวที่ 1 กับ 3 ถ้าอยู่ใน Scale จะเป็น
- Slur 2 Staccato 2 ตัดลิ้นตัวที่ 1 และ ตันสั้นตัวที่ 3 กับ 4 ถ้าอยู่ใน Scale
- Staccato 2 Slur 2 ตัดลิ้นสั้นตัวที่ 1 กับ 2 ตัวที่ 3 ตัดลิ้นปรกติถ้าอยู่ใน Scale
- Staccato 1 Slur 2 Staccato 1 ตัดลิ้นสั้นตัวที่ 1 กับ 4 ตัวที่ 2 ตัดลิ้นปรกติ
ลองนำแบบฝึก Articulation ทั้ง 6 แบบนี้ ไปรวมกับแบบฝึก Tempo ที่ให้ไว้ก่อนหน้านี้ ก็จะทำให้มันไม่ยากที่จะซ้อมเลย เพียงแค่เริ่มจากช้าๆ ค่อยๆเร็วขึ้นเรื่อยๆ ทีละขั้นตอน และเพิ่มขึ้นทีละ Scale เท่านี้ก็จะทำให้เราพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว
สามารถเข้าไปดูตัวอย่างของการเป่า Articulation ทั้ง 6 แบบ ได้ที่เว็บไซต์ของผม www.wisuwat.com จะช่วยให้ได้ยินเสียงของ Articulation ได้เข้าใจมากขึ้นครับ
ข้อแนะนำสำหรับการซ้อม ถ้าเราเล่น Scale ที่นิ้วยากๆ หรือ ที่ Articulation ยากๆ ผมก็จะมีวิธีแก้ไขที่ใช้ได้ผลมาฝากกันครับ
- ให้ลองเป่าจังหวะแรก แล้วหยุด 1 จังหวะ วนซ้ำไปเรื่อยๆจนกว่าจะคล่อง
- เพิ่มจังหวะ 2 เข้ามา แล้วหยุด 1 จังหวะ วนซ้ำไปเรื่อยๆจนกว่าจะคล่อง
- เพิ่มจังหวะ 3 เข้ามา แล้วหยุด 1 จังหวะ วนซ้ำไปเรื่อยๆจนกว่าจะคล่อง
จากนั้นก็เพิ่มเข้ามาเรื่อยๆจนได้ครบรอบ อย่างเช่นในตัวอย่างต่อไปนี้
ตอนซ้อมต้องดูอะไรบ้าง และซ้อมยังไงให้ได้ประโยชน์มากที่สุด?
- แนะนำว่าแต่ละ Scale ให้เล่น 2 รอบ พอจบรอบแรกให้ต่อรอบที่ 2 เลย โดยที่ไม่หยุดหายใจระหว่างที่กำลังเป่าอยู่ พยายามใช้ลมเดียวตั้งแต่แรกจนจบให้ได้ เท่านี้เราก็จะสามารถฝึกลมไปพร้อมๆกันกับ Scale ได้เลย
- สังเกตนิ้วของเรา ไม่ให้ยกสูงจนเกินไป การยกนิ้วสูงจะเป็นปัญหาตอนเล่นจังหวะเร็วๆ ทำให้นิ้วของเราไม่สามารถกลับมากดได้ทัน
- ท่าเป่า ไม่ว่าจะนั่งหรือยิน ให้หลังตรงอยู่ตลอดเวลา และไม่ก้มหน้าหรือเงยหน้าจนเกินไป
- ข้อนี้สำคัญมาก คือ ต้องเล่นให้เคลีย นิ้วกับลิ้นไม่ติดหรือสลับกัน และพยายามทำให้เสียงที่เล่นออกมาทุกเสียงชัดเจนนะครับ เพราะถ้าเราไม่สามารถคุมการเป่า Scale ของเราให้เคลียได้ เท่ากับว่าเวลาเราเป่าเพลงหรืออย่างอื่นที่ยากกว่า Scale เราก็จะไม่สามารถเป่าให้เคลียได้เช่นกัน
ก่อนจะจบบทความนี้ผมขอเพิ่มตารางที่ใช้ในการซ้อมไปให้ ซึ่งก็เป็นตารางการบ้านที่ผมใช้สอนนักเรียนในแต่ละอาทิตย์ ถ้านักเรียนสามารถเป่าถึง Tempo ที่ให้ไป ก็ให้ผ่านไปในช่องนั้น ลองนำตารางนี้ไปใช้ควบคู่กับการซ้อมกันดูครับ
ในตาราง Scale นี้ก็นำมาจาก Circle Fifths นั่นเอง จะเห็นว่าในตาราง Scale จะเรียงกันจาก # น้อยไปมาก และจากนั้นก็จะเป็น Scale ทาง b ซึ่งถ้าไล่จากด้านล่างขึ้นมาก็จะเรียงจาก b น้อยไปมาก ส่วนตอนซ้อมก็จะมีให้เลือกดังต่อไปนี้
- เล่นทาง # โดยเริ่มจาก Scale ที่มี # น้อยไปหามาก เช่น C G D A E B F# C#
- เล่นทาง b โดยเริ่มจาก Scale ที่มี b น้อยไปหามาก เช่น C F Bb Eb Ab Db Gb
- เล่นสลับกัน เช่น C G F D Bb A Eb E Ab B Db F#/Gb
จะเห็นว่าถ้าเราเล่น Scale โดยมีตารางการซ้อมที่ชัดเจน จะช่วยให้การซ้อมของเรามีระเบียบและแบบแผนมากขึ้น และยังมองเห็นภาพของการซ้อมผ่านตารางเหล่านี้ ในบทความหน้าผมจะมาอธิบายเพิ่มเติมถึงสิ่งที่อยู่ในตารางช่องต่อๆไปให้ฟังกันครับ
ลองนำสิ่งที่ได้จากบทความนี้ไปรวมกับความรู้เดิมที่เรามีอยู่แล้ว นำไปพัฒนา และหมั่นฝึกซ้อมเป็นประจำ ผมเชื่อว่าอนาคตจะมีนัก Saxophone เก่งๆเกิดขึ้นมากมายในประเทศไทย