การหายใจที่ถูกต้องในการเป่าแซกโซโฟน

การหายใจที่ถูกต้องจะช่วยให้การเป่าแซกโซโฟนให้ดีขึ้น วางปากได้ถูกต้องเป็นธรรมชาติ สามารถควบคุมสำเนียงและประโยคของเพลงได้สมบูรณ์ และที่สำคัญก็คืออวัยวะที่ใช้ในการหายใจได้ถูกใช้ตามธรรมชาติ

กระบวนการหายใจ
กระบวนการหายใจสำหรับเครื่องเป่าประกอบด้วย 2 ลักษณะ คือ การหายใจเข้า และการเป่าลมออก

การหายใจเข้า
การหายใจเข้าที่ถูกต้องไม่ว่าจะนั่งหรือยืนควรอยู่ในลักษณะอกผายไหล่ผึ่ง (แต่ไม่ยกไหล่) อย่างธรรมชาติคือไม่เกร็งปาก
โดยการดึงขากรรไกรล่างลง แล้วเปิดหลอดลมให้กว้างออกเหมือนอาการหาว แล้วสูดลมเข้าทางปากจนเต็มท้องน้อย กะบังลม ปอด
และหน้าอก การหายใจเข้าอาจจะแบ่งเป็น 3 ระยะ
การหายใจเข้าระยะที่ 1 โดยเพิ่มลมบริเวณกะบังลมส่วนล่าง อาจจะใช้มือข้างใดข้างหนึ่งแตะบริเวณหน้าท้องโดยให้นิ้ว
ก้อยอยู่บริเวณสะดือ หรือบริเวณซี่โครงซึ่สุดท้าย เมื่อหายใจเข้าจะรู้สึกว่าท้องป่องออกเล็กน้อย
การหายใจเข้าระยะที่ 2 โดยเพิ่มลมจากระยะที่ 1 ลมจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นโดยเฉพาะบริเวณกะบังลมส่วนบน เอามืออีก
ข้างหนึ่งจับบริเวณซึ่โครงใต้รักแร้เมื่อหายใจเข้าระยะที่ 2 จะรู้สึกว่ากล้ามเนื้อบริเวณนั้นขยายออกเล็กน้อย
การหายใจเข้าระยะที่ 3 โดยเพิ่มลมให้เต็มปอดจะรู้สึกว่าหน้าอกยกขึ้นเล็กน้อย
การทำงานของอวัยวะเมื่อหายใจเข้า
ในการหายใจเข้าเราจะรู้สึกว่ากะบังลม ปอด และหน้าอกขยายออก
การเป่าลมออก
การหายใจออกในชีวิตประจำวันนั้นเป็นเรื่องง่ายเพราะไม่ต้องควบคุมลม แต่การเป่าลมออกสำหรับเครื่องเป่าต้องมีการควบ
ี่คุมลมแต่การเป่าลมออกสำหรับเครื่องเป่าต้องมีการควบคุมลมให้ออกอย่างสม่ำเสอมหรือตามความต้องการ ขณะที่ปล่อยลมออก
กะบังลมและกล้ามเนื้อส่วนล่างจะดันให้ลมออกมาทางปาก
บทฝึกหัดสำหรับการเป่าลมให้ออกอย่างสม่ำเสมอและอยู่ในจุดเดียวกัน
บทฝึกหัดที่ 1 ให้นำน้ำใสแก้วแล้วเป่าด้วยหลอดกาแฟ เป่าให้ฟองน้ำอยู่ในระดับเดียวกันจนหมดลม
บทฝึกหัดที่ 2 นำเทียนที่จุดไฟแล้วมาเป่าให้เปลวเทียนเอนคงที่แต่ไม่ให้เทียนดับ โดยควบคุมปริมาณของลมที่เป่าออกทำนองเดียวกัน
กับหลอดกาแฟ
ข้อสังเกต
1. การหายใจที่ถูกต้องในการเป่า หลอดลมจะเปิดตลอดเวลา
สามารถทดสอบได้โดยหายใจเข้าจนเต็มที่ กลั้นลมหายใจแล้วยังสามารถพูดได้
แสดงว่าหายใจถูกต้อง
2. หยุดลมโดยใช้กล้ามเนื้อของกะบังลมบังคับ ไม่ใช้วิธีการเปิดหลอดลม
3. ขณะที่เป่ากล้ามเนื้อจะตึงอันเกิดจากแรงดันของกะบังลม กล้ามเนื้อ
หน้าท้องจะค่อย ๆ เข้าทีละนิด ๆ ขณะเป่าแต่ไม่เร็วจนเกินไปเพราะแรงดัน
ของกะบังลมดันให้ลมออกสู่ช่องปาก
แบบฝึกหัดในการฝึกหายใจ
แบบฝึกหัดที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นเพียงตัวอย่างในการฝึก โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาการหายใจให้ถูกต้อง
เพื่อสร้างความเข้าใจและนำไปใช้ในการเป่าแซกโซโฟน
แบบฝึกหัดที่ 1 ฝึกความถูกต้องของการหายใจ
ให้ยืนในลักษณะอกผายไหล่ผึ่งหน้าตรงแต่ไม่เกร็ง เท้าทั้งสองห่างกันเล็กน้อย มือทั้งสองข้างอยู่ในลักษณะเหมือนเท้าสะเอว
แต่ให้เอามือจับเบา ๆ ในบริเวณข้อต่อระหว่างซี่โครงและผนังหน้าท้อง หายใจเข้าช้า ๆ จนเต็มปอดและกะบังลม
ข้อควรระวังระหว่างหายใจเข้า ไม่ยกไหล่หรือเกร็งบริเวณต้นคอทุกอย่างอยู่ในลักษณะธรรมชาติ แบบฝึกหัดนี้
จะสังเกตเห็นการขยายตัวของกะบังลมเมื่อหายใจเข้า และการหดตัวของกะบังลมเมื่อหายใจออก ฝึกประมาณวันละ 3 ครั้งจน
เข้าใจกระบวนการ
แบบฝึกหัดที่ 2 ฝึกหายใจในท่านั่ง
ให้บนเก้าอี้โดยพยายามนั่งให้ชิดขอบด้านหน้าของเก้าอี้ (ไม่พิงพนัก) เท้าทั้งสองวางบนพื้นโดยให้ปลายเท้าทั้งสองห่างกัน
ประมาณ 1 ฟุต อกผายไหล่ผึ่งหน้าตรง มือทั้งสองข้างจับที่เข่าบิดแขนให้หัวแม่มือทั้งสองข้างอยู่ด้านนอก แขนทั้งสองข้าง
เหยียดตึง ห่อไหล่เล็กน้อย เริ่มหายใจเช้าช้า ๆ แล้วเป่าลมออกเหมือนกับเป่าเปลวเทียนหรือหลอดกาแฟ
แบบฝึกหัดนี้เมื่อแขนทั้งสองตึงจะบังคับไม่ให้ยกไหล่ขื้นเมื่อหายใจเข้า
แบบฝึกหัดที่ 3 ท่าโยคะ
นอนหงายชันเข่า โดยเข่าทั้งสองข้างห่างกันพอประมาณ เท้าทั้งสองวางอยู่บนพื้น แล้วดึงลำตัวให้สูงขึ้นเป็นเส้นตรง
ระหว่างเข่ากับไหล่ โดยน้ำหนักตกอยู่บนไหล่ทั้งสองข้าง มือทั้งสองข้างวางอยู่บนพื้นขนานกับลำตัว หายใจเข้าช้า ๆ
จนเต็มแล้วเป่าลมออกทางปากเหมือนกับเป่าหลอดกาแฟหรือเป่าเทียน ฝึกท่านี้วันละครั้ง ๆ ละไม่เกิน 1 นาที
จุดประสงค์ของแบบฝึกหัดนี้เพื่อฝึกการหายใจโดยไม่ให้ยกไหล่
ข้อสังเกตความไม่ถูกต้องในขณะเป่า
1. หายใจทางจมูก
2. หายใจบ่อยขณะที่เป่าโดยไม่จำเป็น
3. หายใจมีเสียงดัง
4. มีลมไม่เพียงพอ
5. ยกอก ยกไหล่ หรือเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอขณะหายใจเข้า
6. ไม่สามารถควบคุมเสียงแซกโซดฟนให้อยู่ในระดับเดียวกัน
ข้อสังเกตความถูกต้องของการหายใจในขณะเป่า
1. เปิดหลอดลมและหายใจทางปาก
2. มีลมพอที่จะเป่าให้หมดประโยคเพลง
3. หายใจเข้าอย่างเร็วโดยได้ปริมาตรของลมที่ต้องการ
4. หายใจได้เต็มปอดทุกครั้ง
5. ไม่เคลื่อนไหวอวัยวะส่วนอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการหายใจ เช่น ไหล่เป็นต้น
6. สามารถควบคุมลมให้ออกมาอย่างสม่ำเสมอตามต้องการ

(สุกรี เจริญสุข,2529:15)