การเป่าแซ็กโซโฟน
การเป่าแซ็กโซโฟน
การฝึกเป่าแซกโซโฟน
โดยปกติแล้วลำตัวของแซกโซโฟนจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนบนและส่วนล่าง สำหรับลำตัวส่วยบนผู้ฝึกต้องใช้นิ้วมือซ้ายกด และลำตัวส่วนล่างจะต้องใช้นิ้วมือส่วนขวากด
ท่านั่งและท่ายืนในการเป่าแซกโซโฟน
ท่านั่ง จะต้องนั่งตัวตรง (ไม่เกร็ง) ขาขวาถอยไปด้านหลังเล็กน้อย และ หันไปทางขาซ้าย เพื่อรักษาระดับของแซกโซโฟนไม่ให้เอียง ซึ่งระดับนี้จะเป็นระดับสายตามองเห็นโน้ตได้ชัดเจน
ท่ายืน ให้ยืนตรง ขาซ้ายยื่นออกไปด้านหน้าเล็กน้อย เพื่อให้เป็นที่พักน้ำหนักระหว่างขาหน้ากับขาหลัง ซึ่งจะทำให้แซกโซโฟนอยู่กลางลำตัว โดยให้น้ำหนักของแซกโซโฟน อยู่ที่ขอเกี่ยวนิ้วหัวแม่มือขวาตอนล่างของแซกโซโฟน แขนซ้ายไม่ชิดลำตัวให้กางแขนออกเล็กน้อย
การวางปากเป่า
ในการฝึกเป่าครั้งแรก ถ้าเป่าโดยไม่เข้าใจวิธีการฝึกจะทำให้รู้สึกเบื่อหน่าย ดังนั้น จึงมีวิธีฝึกปฏิบัติ ดังนี้
1. นั่งตัวตรงและยืดอก สานคล้องคอไม่ควรตึงเกินไปถ้าสายคล้องคอตึงไปจะทำให้ใบหน้าและลำตัวแหงนขึ้น ถ้าหย่อนเกินไปจะทำให้หลังค่อม ดังนั้น ควรจัดสายคล้องคอให้พอดี มิฉะนั้นหากฝึกต่อไปนานๆ จะทำให้เกิดความเคยชิน ซึ่งควรจดจึงสิ่งเล็กน้อยเหล่านี้ไว้
2. อมหัวแซกโซโฟนไว้ในปากตรงกึ่งกลาง ให้ลึกประมาณไม่เกิน 2 นิ้ว ใช้ริมฝีปากล่างและบนบีบกดหัวแซกเอาไว้ให้แน่น อย่าใช้ฟันกัดหัวแซกเป็นอันขาดและริมฝีปากจะต้องหุ้มฟันเอาไว้ทั้งด้านล่างและบน
3. เมื่อประกบปากโดยเม้มแน่นดีแล้ว สานคล้องคอจัดได้ถูกต้อง ท่านั่งไม่ขัดเขิน จับแซกตามท่านั่ง ให้นิ้วหัวแม่มือขวาไปอยู่ตรงขอเกี่ยวนิ้วหัวแม่มือตอนล่างของแซก ส่วนนิ้วอื่นๆ ไม่ต้องกด ให้วางแตะไว้เฉยๆ ส่วนนิ้วหัวแม่มือซ้ายให้วางตรงที่วางของนิ้วหัวแม่มือตอนบนของแซก ใช้นิ้วกลางกด เม้มริมฝีปาก สูดลมหายใจเข้าให้เต็มปอด แล้วเป่าออกมา ไม่ต้องเป่าแรง เป่าธรรมดา ถ้าเป่าออกมาจนลมหมดแล้วไม่มีเสียง ให้สูดลมหายใจเข้าไปใหม่ ข้อสำคัญอย่าใช้ลมจากลำคอ เพราะจะทำให้คอโป่ง ให้ใช้ลมจากลมที่เราหายใจเข้าและออก โดยให้ออกมาทางที่เราเป่าแซกและถ้ามีลมออกมาด้านข้างของริมฝีปากทั้ง 2 ข้าง ต้องเม้มปากให้สนิทจนไม่มีลมออกมาฝึกหัดเป่าเช่นนี้หลายๆ ครั้งจนกว่าจะมีเสียง เมื่อมีเสียงแล้วก็ให้เป่าเสียงนั้นยาวๆ
การฝึกเป่าแซกโซโฟน
โดยปกติแล้วลำตัวของแซกโซโฟนจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนบนและส่วนล่าง สำหรับลำตัวส่วยบนผู้ฝึกต้องใช้นิ้วมือซ้ายกด และลำตัวส่วนล่างจะต้องใช้นิ้วมือส่วนขวากด
ท่านั่งและท่ายืนในการเป่าแซกโซโฟน
ท่านั่ง จะต้องนั่งตัวตรง (ไม่เกร็ง) ขาขวาถอยไปด้านหลังเล็กน้อย และ หันไปทางขาซ้าย เพื่อรักษาระดับของแซกโซโฟนไม่ให้เอียง ซึ่งระดับนี้จะเป็นระดับสายตามองเห็นโน้ตได้ชัดเจน
ท่ายืน ให้ยืนตรง ขาซ้ายยื่นออกไปด้านหน้าเล็กน้อย เพื่อให้เป็นที่พักน้ำหนักระหว่างขาหน้ากับขาหลัง ซึ่งจะทำให้แซกโซโฟนอยู่กลางลำตัว โดยให้น้ำหนักของแซกโซโฟน อยู่ที่ขอเกี่ยวนิ้วหัวแม่มือขวาตอนล่างของแซกโซโฟน แขนซ้ายไม่ชิดลำตัวให้กางแขนออกเล็กน้อย
การวางปากเป่า
ในการฝึกเป่าครั้งแรก ถ้าเป่าโดยไม่เข้าใจวิธีการฝึกจะทำให้รู้สึกเบื่อหน่าย ดังนั้น จึงมีวิธีฝึกปฏิบัติ ดังนี้
1. นั่งตัวตรงและยืดอก สานคล้องคอไม่ควรตึงเกินไปถ้าสายคล้องคอตึงไปจะทำให้ใบหน้าและลำตัวแหงนขึ้น ถ้าหย่อนเกินไปจะทำให้หลังค่อม ดังนั้น ควรจัดสายคล้องคอให้พอดี มิฉะนั้นหากฝึกต่อไปนานๆ จะทำให้เกิดความเคยชิน ซึ่งควรจดจึงสิ่งเล็กน้อยเหล่านี้ไว้
2. อมหัวแซกโซโฟนไว้ในปากตรงกึ่งกลาง ให้ลึกประมาณไม่เกิน 2 นิ้ว ใช้ริมฝีปากล่างและบนบีบกดหัวแซกเอาไว้ให้แน่น อย่าใช้ฟันกัดหัวแซกเป็นอันขาดและริมฝีปากจะต้องหุ้มฟันเอาไว้ทั้งด้านล่างและบน
3. เมื่อประกบปากโดยเม้มแน่นดีแล้ว สานคล้องคอจัดได้ถูกต้อง ท่านั่งไม่ขัดเขิน จับแซกตามท่านั่ง ให้นิ้วหัวแม่มือขวาไปอยู่ตรงขอเกี่ยวนิ้วหัวแม่มือตอนล่างของแซก ส่วนนิ้วอื่นๆ ไม่ต้องกด ให้วางแตะไว้เฉยๆ ส่วนนิ้วหัวแม่มือซ้ายให้วางตรงที่วางของนิ้วหัวแม่มือตอนบนของแซก ใช้นิ้วกลางกด เม้มริมฝีปาก สูดลมหายใจเข้าให้เต็มปอด แล้วเป่าออกมา ไม่ต้องเป่าแรง เป่าธรรมดา ถ้าเป่าออกมาจนลมหมดแล้วไม่มีเสียง ให้สูดลมหายใจเข้าไปใหม่ ข้อสำคัญอย่าใช้ลมจากลำคอ เพราะจะทำให้คอโป่ง ให้ใช้ลมจากลมที่เราหายใจเข้าและออก โดยให้ออกมาทางที่เราเป่าแซกและถ้ามีลมออกมาด้านข้างของริมฝีปากทั้ง 2 ข้าง ต้องเม้มปากให้สนิทจนไม่มีลมออกมาฝึกหัดเป่าเช่นนี้หลายๆ ครั้งจนกว่าจะมีเสียง เมื่อมีเสียงแล้วก็ให้เป่าเสียงนั้นยาวๆ